วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

แนวการสอน
วิชา 1072302 เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 2(1-2)หน่วยกิต (Investigation in Mathematics for Pre-school Children)เวลาเรียน 3 คาบ ต่อ สัปดาห์ / ผู้สอน อาจารย์สถิรนันท์ อยู่คงแก้ว โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

ความมุ่งหมาย หลักและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับอนุบาล จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสอนคณิตศาสสริมทักษะการสอนคณิตศาสตร์ระดับอนุบาล
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายและความมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ระดับอนุบาล
เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายหลักและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์ระดับอนุบาล
เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายขอบข่ายและเนื้อหาของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับอนุบาล
เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายจิตวิทยาการสอนคณิตศาสตร์ระดับอนุบาล
เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหาของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับอนุบาล
เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการจัดกิจกรรม ตลอดจนสามารถฝึกทดลองจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายหลักการผลิตอุปกรณ์ และสามารถผลิตสื่ออุปกรณ์ในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กอนุบาลได้อย่างเหมาะสม
แผนการสอน
สัปดาห์
เนื้อหา
กิจกรรม
คาบ
1
ปฐมนิเทศ
ความหมายความมุ่งหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
แจกแนวการสอน
บรรยาย
อภิปรายกลุ่ม
3
2-3
หลักการจัดประสบการณ์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อภิปรายกลุ่มย่อย
บรรยาย
6
4-6

ขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
บรรยาย
อภิปรายกลุ่ม
สาธิตการสอน
ฝึกปฏิบัติ
9
7-8
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ฝึกปฏิบัติ
บรรยาย
6
9
สอบระหว่างภาค
ทดสอบ
3
10-11
บล็อก : สื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
บรรยาย
สาธิตการผลิตสื่อ
ฝึกปฏิบัติ
สาธิตการสอน
6
12-15
เกมการศึกษามิติสัมพันธ์
การผลิตเกมการศึกษามิติสัมพันธ์
อภิปรายกลุ่มย่อย
บรรยาย
12
16
สอบปลายภาค
ทดสอบ
3
สื่อการเรียนการสอน
แผ่นใสและเครื่องฉายแผ่นใส
สื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เอกสารประกอบการสอน
เทปวิดีทัศน์การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างเกมการศึกษามิติสัมพันธ์
การวัดผลและการประเมินผล
คะแนนเต็ม 100 คะแนน
คะแนนระหว่างภาคเรียน 70 คะแนน
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 10 คะแนน
งานกลุ่ม 10 คะแนน
งานเดี่ยว 10 คะแนน
สอบปฏิบัติ 20 คะแนน
สอบระหว่างภาค 20 คะแนน
คะแนนสอบปลายภาค 30 คะแนน
การประเมินผล ใช้เกณฑ์ดังนี้
A
=
80
-
100
C
=
60
-
64
B+
=
75
-
79
D+
=
55
-
59
B
=
70
-
74
D
=
50
-
54
C+
=
65
-
69
E
=
0
-
49

เอกสารประกอบการสอนและศึกษาค้นคว้า
พัฒนา ชัชพงศ์. ไม้บล็อก สื่อสร้างสรรค์ในห้องเรียน. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.,ม.ป.ป.วรนาท รักสกุลไทย. เรียนคณิตศาสตร์ด้วยการเล่น วิธีง่ายๆในการส่งเริมลูกรักของคุณ. ม.ป.ท.,ม.ป.ป.สุนีย์ เพียซ้าย. กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2540.หรรษา นิลวิเชียร. ปฐมวัยศึกษา : หลักสูตรและแนวปฏิบัติ.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ ,2535.Mussen, P.M. The Phychological Development of The Child. New Jerscy: Prentice , Hall1964.




หลักการจัดประสบการณ์และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ระยะปฐมวัยนับว่าเป็นวัยทองของการวางรากฐานที่ดีของชีวิต ดังที่ UNESSCO (1983 : 2) กล่าวว่าในช่วง 0-6 ปี เป็นระยะที่เซลล์สมองของเด็กเจริญรวดเร็วมากที่สุดถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ พัฒนาการทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิต สังคม สติปัญญา เจริญเติบโตในอัตราที่สูงสุด เด็กจึงเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นประสบการณ์ที่เด็กได้รับจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทุกด้านต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไป ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจึงควรสอนเด็กให้มีพื้นฐานชีวิตที่ดี เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป คำว่า "การสอน" ในระดับปฐมวัยนั้น หมายถึง การจัดประสบการณ์
ความหมายของการจัดประสบการณ์
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 58) ได้ให้ความหมายของการจัดประสบการณ์ไว้ว่า การจัดประสบการณ์ หมายถึง การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย โดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมิใช่มุ่งจะให้อ่านเขียนได้ดังเช่นในระดับประถมศึกษาแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมิใช่มุ่งจะให้อ่านเขียนได้ดังเช่นระดับประถมศึกษาแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาการทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการสังเกตโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าสรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์เป็นการจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยที่มิใช่มุ่งเน้นด้านวิชาการหรือการเรียนเนื้อหาวิชาการ แต่เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ มีประสบการณ์ตรงกับสื่อ สิ่งแวดล้อม บุคคล ตามความสามารถของเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับต่อไปหลักการจัดประสบการณ์
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2537 : 18) ได้กล่าวไว้ว่า ควรคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้1. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้สอดคล้องกับพัฒนาของผู้เรียน2. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน3. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสิ่งที่เรียน และควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและมีคุณธรรม4. ประสบการณ์ที่จัดควรเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมทากที่สุด5. กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ ควรมีวิธีใช้แรงจูงใจ เร้าความสนใจของผู้เรียน ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมมากที่สุด6. ควรหาแนวทางในการประเมินผลที่เหมาะสม
หลักการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอย่างเต็มศักยภาพสูงสุดนั้น ผู้สอนจะต้องเข้าใจพัฒนาการและความสามารถตามวัยของเด็กนิตยา ประพฤติกิจ (2532 : 243) กล่าวว่า ครูไม่ควรยึดมั่นและคิดว่าเด็กจะต้องเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ตามที่ตนได้ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ หรือคิดว่าเด็กน่าจะทำได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถต่างกัน และมีพื้นฐานทางครอบครัวต่างกันครูจะต้องเน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงและได้ทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อตัวเด็กให้เด็กได้ทั้งดู ทั้งจับต้อง และทดสอบความคิดของเขาในบรรยากาศที่เป็นกันเองในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียน อย่างเช่นที่โรงเรียนมีต้นผลไม้ ครูอาจให้เด็กชั้นประถมขึ้นไปเก็บหรือถ้าไม่มีเด็กโตครูก็จัดเก็บเองแล้วให้เด็กได้นับจำนวนผลไม้กันจริง ๆ ถ้าหากเด็กสามารถเข้าใจการนับแล้วอาจมีการสอนเพิ่มได้โดยขึ้นไปเก็บอีกแล้วให้เด็กนับเมื่อมีการแจกผลไม้บางผลให้เด็กไปครูก็อาจตั้งคำถามเพื่อให้เด็กนับจำนวนผลไม้ที่เด็กได้มาเพิ่ม การให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเองนับเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมากต่อการเชื่อมโยงระหว่างวัตถุกับความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กเด็กควรจะได้รับการฝึกฝนให้มีความเข้าใจหรือมีแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์การสอนแต่ละครั้งครูควรสอนความคิดรวบยอด (Concept) เพียงเรื่องเดียว เช่น เพิ่มหรือลดหรรษา นิลวิเชียร (2535 : 118) ได้เสนอเทคนิคและหลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กเล็กตามแนวคิดของเพียเจต์ นักทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ดังนี้1. เด็กจะสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุโดยวิธีธรรมชาติ หรือด้วยตนเองเท่านั้น2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเอง ได้สัมผัสได้จัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม การจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ทำแบบฝึกหัดในสมุด หรือแม้แต่การใช้เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ แผ่นใส ภาพนิ่งประกอบ ก็คือ การสอนโดยใช้สื่อที่เป็นนามธรรมนั่นเอง เด็กมักจะถูกสอนให้จัดกระทำกับจำนวน เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งอันที่จริงแล้วการเรียนในระดับเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้นนั้น การสร้างมโนทัศน์มีความสำคัญกว่าการคิดคำนวณ การเริ่มสอนเด็กด้วยการให้เด็กคิดคำนวณนั้น เป็นวิธีการสอนที่ผิดอย่างยิ่ง จำนวนเครื่องหมายนามธรรมที่ไม่มีความหมายใด ๆ เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้นมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2527 : 243 - 244) ให้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย มีขั้นตอน ดังนี้1. ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง ดังนั้นการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ที่เป็นของจริงให้มากที่สุด และต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม ดังนี้1.1 ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
1.4 ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น5.1 เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข5.2 เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ 5.3 การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ5.4 แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน5.5 ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน5.6 ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ5.7 เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาวน์ดังนั้น หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ" กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้น เด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคน
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
คณิตศาสตร์เป็นความสามารถด้านสติปัญญา ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้อย่างเต็มศักยภาพสูงสุดนั้น จึงยึดทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นแนวทางสู่การปฏิบัติ ดังนี้เพียเจต์ (ชลลดาวัลย์ ตันมงคล. 2538 : 10, อ้างอิงมาจาก Piget.1962 : 74) สติปัญญาเป็นความสามารถในการคิด ความสามารถในการวางแผนและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ความสามารถดังกล่าวจะพัฒนาความคิดความเข้าใจในระดับง่าย ๆ ในวัยเด็กไปสู่ระดับที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นในวัยผู้ใหญ่คิมเบิล (อารี เพชรผุด. 2528 : 203 - 204 : อ้างอิงมาจาก Kimble.1961) กล่าวว่า สติปัญญาคือผลงานความสามารถ 5 อย่าง คือ1. ความสามารถในการใช้กระบวนการที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol)2. ความสามารถในการคิดหาเหตุผล (Reasoning Thinking)3. ความสามารถในการวางเป้าหมายในการกระทำ (Goal)4. ความสามารถในการปฏิบัติอย่างได้ผลต่อสิ่งแวดล้อม5. ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตนเองอารี รังสินันท์ (2530 : 34) ได้ให้ความหมายของสติปัญญาว่า หมายถึงความสามารถทางสมองของบุคคลในการเรียนรู้ การคิดหาเหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การปรับปรุงตัวเองต่อสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างเป็นสุขโกวิท ประวาลพฤกษ์ และคนอื่น ๆ (ม.ป.ป. : 77) กล่าวว่า สติปัญญาคือความสามารถทางสมองทางด้านการรับรู้ การจำ การเข้าใจ การคิดอย่างมีเหตุผล การเข้าใจสิ่งซับซ้อน เข้าใจนามธรรม สามารถแก้ปัญหาที่ยาก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมที่เจริญเติบโตตามวัย แต่อีกส่วนหนึ่งสามารถส่งเสริมได้จากการเรียนรู้และฝึกหัดจากสิ่งแวดล้อมสรุปได้ว่า สติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่แสดงออกเกี่ยวกับการคิด ความจำ การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล ความสัมพันธ์ ภาษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็ก อีกทั้ง ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ความสามารถทางสติปัญญารวมถึงความสามารถทางคณิตศาสตร์ ได้มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตามวัยของเด็ก
องค์ประกอบของพัฒนาการด้านสติปัญญา
ชาลิวสกี้ (Zalewski. 1978 : 2804) พบว่า องค์ประกอบที่ช่วยในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ความสามารถในการเข้าใจสัญลักษณ์ ความสามารถในการจัดกระทำ ความเข้าใจในการอ่าน เข้าใจศัพท์ การมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และทักษะในการคำนวณหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา (2533 : 51 - 54) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของพัฒนาการทางสติปัญญาว่าประกอบด้วยความสามารถในการจำ การมีความคิดริเริ่ม ความสามารถในการสังเกต การรับรู้การแก้ปัญหา ความสามารถในการเข้าใจภาษา และความสามารถในการตัดสินใจนอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2528 : 2) กล่าวว่า องค์ประกอบของการพัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่ ความสามารถในการสังเกต จำแนก เปรียบเทียบและจัดประเภท และจัดประเภทสิ่งแวดล้อมทุกชนิดที่อยู่รอบกาย ความสามารถทางด้านภาษา การนับ การรู้ค่าของจำนวน และความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์รอบตัวทุกชนิดดังนั้นจึงสรุปได้ว่าองค์ประกอบด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ความพร้อมทางการเรียน ทั้งการเรียนทางภาษาและคณิตศาสตร์ โดยมีความเข้าใจภาษา และมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีความพร้อมทางการรับรู้ และความสามารถในการแก้ปัญหา
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจต์ (Piaget's Cognitive Theory)
จังค์ เปียเจต์ (Jean Piaget) เป็นฯนักจิตวิทยาชาวสวิสในกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Psychology) ที่สนใจศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กหลักการเรียนรู้ของเปียเจต์ เปียเจต์กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการที่เกิดจากการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่เรียกว่า โครงสร้างทางสติปัญญา (Schema) ซึ่งเขาให้นิยามว่า เป็นวิธีการที่มนุษย์รับรู้ เข้าใจ และคิดถึงเกี่ยวกับโลกที่เขาอยู่ (They are ways of perceiving , understanding and thinking about the world.) ซึ่งเป็นวิธีการที่เด็กจะเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่าง "ตัวเขาเองกับโลกภายนอก" เปียเจต์เชื่อว่า คนทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยกระบวนการคิดอันเป็นสากล เปียเจต์กล่าวว่า "โครงสร้างทางสติปัญญา" หรือการทำงานของระบบประสาทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคิดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และกระบวนการที่การทำงานของระบบประสาทนี้เกิดเปลี่ยนแปลงไป ที่เรียกว่า "ปฏิบัติการ (Operate)" สิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับกระบวนการคิด Functional Invariant ที่สำคัญมี 2 อย่างด้วยกัน คือ1. การขยายโครงสร้าง (Assimilation) คือการที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือได้รับรู้สิ่งใหม่เข้ามาในสมอง2. การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation) คือการที่โครงสร้างทางสติปัญญามีอิทธิพลต่อการแปลความ ประสบการณ์ที่ได้รับให้เข้ากับความเป็นจริงของโลกภายนอกกระบวนการทั้งสองประการนี้ เมื่อเกิดการปรับขยายโครงสร้างโดยการรับประสบการณ์ และการปรับประสบการณ์เข้าสู่โครงสร้างแล้ว ก็จะสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาขึ้นมาใหม่ และขยายโครงสร้างให้กว้างออกไปเปียเจต์จะเน้นกระบวนการทำงานภายในตัวผู้เรียนมากกว่าสิ่งเร้าที่มากระตุ้นผู้เรียน สิ่งที่มากระตุ้นนั้น ควรจะอยู่ในระดับที่วุฒิภาวะของเด็กจะสามารถเข้าถึง โดยที่กระบวนการทั้ง 2 ที่กล่าวมาแล้วจะทำงานร่วมกันตลอดเวลา เพื่อช่วยรักษาความสมดุล (Equilibrium) และผลจากการทำงานของกระบวนการดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้าง (Schema) ขึ้นในสมอง โครงสร้างต่าง ๆ จะพัฒนาขึ้นตามระดับอายุ พัฒนาการจะเป็นไปตามลำดับขั้น จะข้ามขั้นไม่ได้ แต่อัตราของการพัฒนาการอาจจะแตกต่างกันในตัวเด็กแต่ละคน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2522 : 4)เปียเจต์ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาหรือการคิดออกเป็น 4 ขั้นด้วยกัน ซึ่งแต่ละระยะก็จะมีกระบวนการทางสติปัญญา หรือ "โครงสร้าง (Structure)" เกิดขึ้น โครงสร้างเหล่านี้จะแตกต่างไปในแต่ละระยะ ระยะของพัฒนาการแต่ละขั้น มีดังนี้ระยะที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Period) อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ขวบ ในขั้นนี้เด็กจะรู้จักการใช้ประสาทสัมผัสทางปาก หู และตา ต่อสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว พฤติกรรมทางสติปัญญาของเด็กจะแสดงออกในรูปแบบของการมีปฏิกิริยาโต้ตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือพฤติกรรมสะท้อน (Reflex) ในวัยทารก ซึ่งพฤติกรรมนี้จะถูกปรับเปลี่ยนโดยความตั้งใจและความต้องการของเด็กเองในการติดต่อกับโลกภายนอก ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวจะพัฒนาเป็นแบบแผนของการคิดต่อไป ในระยะนี้เด็กจะสร้างแบบฉบับของการคิดที่เรียกว่า การคงที่ของวัตถุ (Object Permance) ขึ้น กล่าวคือ เด็กจะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในรูปแบบใด และสิ่งนั้นจะยังคงอยู่แม้ว่าคนจะมองไม่เห็นระยะที่ 2 ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ (Pre - Operation Period) อยู่ในช่วงอายุ 2 -6 ขวบ เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือเข้าใจสภาพแวดล้อมบ้าน สัญลักษณ์ต่างๆ เด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการรู้จักสิ่งที่เป็นตัวแทน (Representative) และเด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสมองแบบง่าย ๆ โดยไม่ได้เห็นวัตถุหรือเหตุการณ์นั้นสัมพันธ์อยู่ด้วย ซึ่งจัดว่าเป็นความคิดแบบพื้นฐานที่ยังอาศัยการรับรู้เป็นบางส่วน เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถคิดแบบใช้เหตุผลได้เด็กในวัยนี้จะยังมีความเห็นแก่ตัว (Egocentrism) อยู่มาก จึงมักจะย้ำความสนใจลงเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งโดยไม่นำพากับส่วนอื่นเลย (Contraction หรือ Centering) นอกจากนี้เด็กในวัยนี้จะไม่สามารถคิดย้อนกลับได้ (Irreversibility) ลักษณะของเด็กในวัยนี้ที่สำคัญอีกลักษณะหนึ่งคือ ความสามารถในการเลียนแบบคนอื่นในช่วงสั้น ๆ (Referred Initiation) ความสามารถในการเล่นสมมติ (Make Believe) และความสามารถในการหยั่งรู้ (Insight an Intuition) และความสามารถในการใช้ภาษาได้ในขั้นของพัฒนาการระยะนี้ยังสามารถแบ่งย่อยออกเป็นขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด (Pre - Conceptual) อายุระหว่าง 2 - 4 ขวบ ซึ่งเป็นขั้นที่เด็กจะเรียนรู้จากสัญลักษณ์เป็นสำคัญ และขั้นหยั่งรู้หรือขั้นก่อนการคิด (Intuitive) อายุระหว่าง 4 - 6 ขวบ ซึ่งเป็นระยะที่เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับวัตถุระยะที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Period) อายุระหว่าง 7 - 11 ปี ในช่วงอายุดังกล่าวจะสามารถใช้กับเหตุผลกับสิ่งที่แลเห็น และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทั้งนี้เพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จำเป็นต่อการจัดการกับความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานต่าง ๆ โครงสร้างที่สำคัญประการหนึ่งของพัฒนาการในขั้นนี้ คือ การแบ่งกลุ่ม (Grouping) เด็กในวัยนี้จะสามารถจัดของออกเป็นกลุ่มโดยอาศัยลักษณะที่เหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้เด็กแลเห็นโลกภายนอกว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่ามีระบบและความมั่นคง ลักษณะความเห็นแก่ตัว(Egocentrism) ในระยะที่ 2 จะถูกทดแทนด้วยความรู้สึกและความเข้าใจในสิ่งที่เป็นจริงและสิ่งที่เที่ยงตรงของโลกภายนอก การพุ่งความสนใจไปยังของอย่างใดอย่างหนึ่ง (Centering) ถูกทดแทนด้วยการขยายความสามารถที่คิดย้อนกลับได้ระยะที่ 4 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11 - 15 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะเข้าใจ ใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างเป็นระบบ และเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้ เพื่อการคาดคะเนพยากรณ์ได้ดีขึ้น และสามารถใช้การคิดเชิงวิทยาศาสตร์โดยสามารถตั้งสมมติฐานและแก้ปัญหา การคิดเชิงตรรกศาสตร์ (Logical Thinking) จะพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เป็นขั้นที่เกิดโครงสร้างทางสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เด็กในวัยนี้จะมีความคิดอ่านเท่ากับผู้ใหญ่ แต่อาจจะแตกต่างกันที่คุณภาพ เนื่องจากประสบการณ์แตกต่างกันและด้วยเหตุผลหลายประการ เราจะพบว่าเรายังมีผู้ใหญ่อีกจำนวนมากที่ยังไม่เคยพัฒนาเข้าสู่ขั้นของการคิดเช่นนี้ ตามแนวทฤษฎีของเปียเจต์
จากแนวความคิดของเปียเจต์ พัฒนาการทั้งหมดจะดำเนินไปในลักษณะที่มีขั้นตอนโดยผ่านระยะทั้ง 4 ดังกล่าว และแต่ละระดับขั้นของพัฒนาการจะมีรากฐานมาจากระดับพัฒนาการในขั้นก่อน และพัฒนาการขั้นก่อน ๆ ก็จะเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการในระดับขั้นต่อไป (ประสาท อิศรปรีดา. 2521 : 20 ; สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2523 : 11 - 13)จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
การนำทฤษฎีของเปียเจต์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์1. การจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตร ทฤษฎีของเปียเจต์สามารถนำมาใช้ในการจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยได้โดยตรง โดยหลักสูตรสำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory - Motor) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมที่ควรจัดให้กับเด็กปฐมวัยควรเน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด กิจกรรมที่สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว3. การเลือกวัสดุอุปกรณ์ในทัศนะของเปียเจต์ การที่เด็กได้มีโอกาสสัมผัส ต้องจับต้องสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย น้ำ หิน ฯลฯ เป็นสื่อเบื้องต้นที่จะช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสรับรู้ และการเคลื่อนไหว เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของวัตถุ เช่น เรื่องน้ำหนัก เนื้อสาร ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับโครงสร้างอื่น ๆ ดังนั้นสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนในวัยนี้จึงควรให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด





ขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ี้ เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่1.1 การจับคู่ 1 : 11.2 การจับคู่สิ่งของ1.3 การรวมกลุ่ม1.4 กลุ่มที่เท่ากัน1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ นิตยา ประพฤติกิจ (2541 : 17 - 19) กล่าวว่า ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ 6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน เป็นต้น10. เศษส่วน (Fraction) ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ 11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม





คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
นักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการต่างเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย คือต้องจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการและธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ระยะปฐมวัยเป็นวัยเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว สนใจ อยากรู้ อยากเห็น มีการเลียนแบบผู้ใหญ่ พัฒนาการทางสติปัญญายังไม่เจริญเท่าที่ควร เด็กยังไม่สามารถศึกษาเหตุผลได้ สิ่งที่แสดงออกมามักเกิดจากการรับรู้และจดจำเลียนแบบผู้อื่น ลักษณะที่เด่นชัดของวัยนี้ คือ ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Ego - centric)นักการศึกษาและนักจิตวิทยาพัฒนาการยิ่งตระหนักถึงธรรมชาติของเด็กและเน้นการส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติ โดยการจัดประสบการณ์และกิจกรรมที่เหมาะสมแก่เด็ก ดังนี้เพสตาลอสซี (Peatalozzi) ได้ให้แนวคิดว่า การสอนเด็กเล็กต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนความแตกต่างระหว่างบุคคล เขาเป็นผู้ริเริ่มคิดเรื่องความพร้อมและไม่บังคับให้เด็กเรียนแบบท่องจำ แต่ให้เรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ทางวัตถุหรือรูปธรรมที่ทำให้เด็กได้สังเกตและเข้าใจจากการเห็นด้วยสายตา สัมผัสจับต้องและรู้สึก เขาเชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจ ความต้องการ และอัตราในการเรียนรู้เฟรอเบล (Froebell) มีแนวคิดว่า การเล่นเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กเล็ก เขามีความเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความสามารถอยู่ภายใน และจะแสดงออกเมื่อได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนด้วยการเล่นกิจกรรมต่าง ๆ เขาจึงประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กและเสนอกิจกรรมการเล่นที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กมอนเตสเซอรี่ (Montessori) เป็นผู้นำความคิดของเฟรอเบลมาปรับปรุง และเสนอการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่น โดยเชื่อว่าการสอนเด็กเล็กนั้นจะต้องคำนึงถึงเสรีภาพ และความต้องการของเด็กเป็นสำคัญ มีความเห็นสอดคล้องกับ ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งมีความเห็นว่าควรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด (Learning by Doing) โดยคำนึงถึงความพร้อม ความแตกต่างระหว่างบุคคลและความสนใจของเด็กเป็นพื้นฐาน
เพียเจต์ (Piaget) ได้ให้แนวคิดว่า ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ครูจำเป็นต้องให้อิสระเสรีในการอยู่ร่วมกับเด็ก ในลักษณะที่ให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าซักถาม ส่งเสริมให้เด็กกระตือรือร้น และส่งเสริมให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในลักษณะแข่งขันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ยอมรับซึ่งกันและกัน ในกระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัด สิ่งแวดล้อมให้เด็กได้มีการกระทำในกิจกรรม สิ่งสำคัญใช้กิจกรรมการเล่นเป็นสื่อการสอน เพราะการเล่นเป็นวิธียั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจความกระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้อีริคสัน (Erikson) เน้นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ถูกทางและยอมรับความสำคัญของวัยเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางด้านอารมณ์ แรงจูงใจอันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพกีเซล (ฉวีวรรณ จึงเจริญ. 2528 : 7 - 12 ; อ้างอิงมาจาก Gesell.n.d.) เน้นเรื่องวุฒิภาวะ (Maturity) เขาเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กนั้นเป็นไปตามแบบแผนลำดับขั้นแห่งพัฒนาการ จะข้ามขั้นไม่ได้ แต่อัตราแห่งการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันในตัวเด็กในทัศนะของกีเซลล์ สิ่งแวดล้อมไม่ได้มีอิทธิพลต่อเด็กเป็นสำคัญ แต่วุฒิภาวะทางร่างกายมีความสำคัญมาก และเป็นตัวกำหนดถึงพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กด้วยสรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการส่งเสริมพัฒนาการ ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงอย่างเป็นรูปธรรม โดยการลงมือจัดกระทำกับวัตถุสิ่งของ และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ตามความสนใจและเหมาะสมกับวัยของเด็ก ทำให้เด็กเกิดทักษะต่าง ๆ เช่น การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ การลงมือปฏิบัติ เป็นต้นนอกจากนี้นักจิตวิทยาหลายท่านได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีความสำคัญต่อการนำไปใช้จัดประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม โดยแบ่งทฤษฎีไว้แตกต่างกันตามหลักการและแนวคิด (เยาวพา เดชะคุปต์ , 2542 : 60 - 68) ซึ่งสามารถนำทฤษฎีการเรียนรู้นี้ไปประยุกต์ใช้กับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นอย่างดียิ่ง ดังนี้ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอรไดค์ (Edward L. Throndike) ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ หรือทฤษฎี S - R หรือทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นโดย เอ็ดเวิร์ด แอล ธอร์นไดค์ (Edward L. Throndike) นักจิตวิทยาและนักการศึกษาชาวอเมริกัน ธอร์นไดค์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องสร้างความเชื่อมโยงหรือพันธะ (Brand หรือ Connection) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยอาศัยการลองผิดลองถูก (Trial and Error) จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี เหมาะสมที่สุด
หลักการเรียนรู้ กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ สรุป 3 ประการ ดังนี้1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) หมายถึง สภาพความพร้อม หรือความมีวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งทางด้านร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ในการเรียนรู้ และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาท สมอง กล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่เชื่อมโยงกับความรู้หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เรียน ถ้าผู้เรียนเกิดมีความพร้อมตามองค์ประกอบดังกล่าว ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี2. กฎของการฝึกหัด (Law of Exercise) หมายถึง การที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อย ๆ ก็ย่อมจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้อง ซึ่งกฎนี้เป็นการเน้นความมั่นคงระหว่างการเชื่อมโยงและการตอบสนองที่ถูกต้อง ย่อมนำมาซึ่งความสมบูรณ์แห่งการเรียนรู้ กฎของการฝึกหัดแบ่งออกได้เป็น2.1 กฎแห่งการใช้ (Law of Use) หมายถึงการฝึกฝน การตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ ย่อมทำให้เกิดพันธะที่แน่นแฟ้นระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้แล้วได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้อยู่เสมอ ก็ทำให้การเรียนรู้เกิดความมั่นคงถาวรไม่ลืม2.2 กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disuse) หมายถึง การไม่ได้ฝึกฝน หรือไม่ได้ใช้ ไม่ได้กระทำบ่อย ๆ ย่อมทำให้ความมั่นคงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองอ่อนกำลังลง หรือลดความเข้มลง หรือเมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้แล้วไม่ได้นำความรู้ไปใช้ หรือไม่เคยใช้ ย่อมทำให้การทำกิจกรรมนั้นไม่ดีเท่าที่ควรหรืออาจจะทำให้ความรู้นั้นลืมเลือนไปได้3. กฎแห่งความเป็นผล (Law of Effect) กฎนี้เป็นผลที่ทำให้เกิดความพอใจ กล่าวคือ เมื่ออินทรีย์ได้รับความพอใจ จะทำให้พันธะหรือสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองมีความเข้มแข็งมั่นคง หรือเกิดความอยากจะเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าอินทรีย์ได้รับผลที่ไม่พอใจก็จะทำให้ไม่อยากเรียน หรือเกิดความเบื่อหน่ายเป็นผลเสียต่อการเรียนรู้การนำทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ครูหรือนักศึกษาสามารถนำแนวคิดของธอร์นไดค์ไปใช ้ดังนี้1. การจัดสิ่งเร้าที่จะกระตุ้นให้เด็กเกิดการตอบสนอง โดยการสร้างแรงจูงใจ การให้รางวัล เพื่อให้เด็กเกิดความพอใจในการเรียน2. จัดหาอุปกรณ์ที่น่าสนใจ เหมาะแก่การเรียนรู้ เพื่อทำให้เด็กพอใจในการเรียน3. ให้เด็กมีโอกาสฝึกปฏิบัติหรือทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ จนทำได้อย่างคล่องแคล่ว และมีแรงจูงใจ มีความสนใจ เข้าถึงเป้าหมายและคุณค่าของสิ่งที่ทำ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการได้รับการฝึกฝนให้เกิดทักษะ
4. การฝึกฝนไม่ควรกระทำนาน ๆ จนเด็กรู้สึกจำเจจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเด็กในวัยนี้มีช่วงความสนใจต่ำ เมื่อรู้สึกว่าเด็กลดความสนใจในสิ่งที่ทำควรเปลี่ยนกิจกรรมเป็นอย่างอื่น หรือจัดกิจกรรมหลากหลายให้เด็กได้มีโอกาสฝึกทักษะ
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ (Skinner) สกินเนอร์ (Skinner) เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำหรือแบบปฏิบัติการ ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน คือ Operant Conditioning Theory หรือ Instrumental conditioning theory หรือ Type - R Conditioning Theory สกินเนอร์ได้เสนอแนวความคิดโดยจำแนกทฤษฎีทางพฤติกรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ1. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type S (Response Behavior) ซึ่งมีสิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกำหนดหรือดึงออกมา เช่น น้ำลายไหลเนื่องจากใส่อาหารเข้าไปในปาก สะดุ้งเพราะถูกเคาะที่สะบ้าข้างเข่า หรือการหรี่ตาเมื่อถูกแสงไฟ พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการตอบสนองแบบอัตโนมัติ2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้แบบ Type R (Operant Behavior) พฤติกรรมหรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) การตอบสนองแบบนี้จะต่างกับแบบแรก เพราะอินทรีย์เป็นตัวกำหนดหรือเป็นผู้สั่งให้กระทำต่อสิ่งเร้า ไม่ใช้ให้สิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของอินทรีย์ เช่น การถางหญ้า การเขียนหนังสือ การรีดผ้า พฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในชีวิตประจำวันเป็นพฤติกรรมแบบ Operant Conditioning)หลักการเรียนรู้ที่สำคัญ หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าที่กำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อต้องการให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้จากสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่ง เราจะให้ผู้เรียนรู้เลือกแสดงพฤติกรรมเองโดยไม่บังคับหรือบอกแนวทางในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วจึง "เสริมแรง" พฤติกรรมนั้นทันที เพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำนั้น พฤติกรรมการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement) ตัวเสริมแรงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย1. การใช้เสริมแรง (Reinforcement) ทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรม ครูควรให้การเสริมแรง โดยการชมเชยหรือให้แรงจูงใจ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้รางวัล ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้ต้องการให้ผู้อื่นสนใจตนหรือเห็นว่าตนเองสำคัญกว่าคนอื่น การให้แรงจูงใจจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ พอใจที่จะเรียน2. การปลูกฝังพฤติกรรมบางอย่างและการลดพฤติกรรมบางอย่าง (Shaping Behavior) หลักการสำคัญของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ก็คือการควบคุมการตอบสนองด้วยวิธีการเสริมแรง กล่าวคือ เราจะให้การเสริมแรงเฉพาะในเรื่องที่ต้องการเพื่อให้เกิดเป็นนิสัยติดตัว ดังนั้นถ้าเราต้องการให้เด็กมีพฤติกรรมใหม่ในเรื่องใด ก็ควรให้การเสริมแรงพฤติกรรมนั้น เพื่อให้เด็กทำต่อไปจนเป็นนิสัย แต่ถ้าต้องการให้พฤติกรรมใดหายไปก็ควรลดการเสริมแรงพฤติกรรมนั้น ก็จะทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นหายไป การปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ให้แก่เด็กโดยการใช้การเสริมแรงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรม ครูควรมีการวางแผนให้เหมาะสม3. บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Maching) และเครื่องช่วยสอน (Teaching Learning) สกินเนอร์ได้เสนอการสอนแบบโปรแกรม ซึ่งจัดแบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เป็นขั้น ๆ และจัดลำดับให้เป็นเหตุเป็นผลเพื่อให้เรียนได้ง่าย และเมื่อสำเร็จแต่ละขั้นจะได้รับแรงเสริม หรือให้รางวัลทันที ทั้งบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องช่วยสอนต่างเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีคำตอบที่ถูกต้องไว้ให้ ซึ่งบทเรียนดังกล่าวควรนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสันอีริคสัน (Erikson) ได้เน้นความสำคัญที่วัยของเด็ก ขั้นตอนของการพัฒนาการและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเด็กว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เขาพอใจ ประสบความสำเร็จ เขาจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น แต่ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจ จะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางใจผู้อื่นอีริคสัน ยังได้ย้ำว่า ถ้าหากเด็กไม่พัฒนาและผ่านขั้นต้นแล้ว เด็กก็จะไม่สามารถพัฒนาในขั้นต่อ ๆ ไปได้การนำมาใช้ในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานั้น การจัดกิจกรรมในขั้นก่อนประถมศึกษา เน้นการที่เด็กได้ประสบความสำเร็จและพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน ต่อเพื่อนฝูงและต่อครู ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมองสังคมใหม่ สังคมโรงเรียนในด้านดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อผู้อื่น และถ้าหากว่าเด็กพอใจและมองโรงเรียนในแง่ดีแล้ว เด็กก็อยากมาโรงเรียน ก็จะได้รับการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้น การช่วยเหลือตนเอง เช่น การไปห้องน้ำ การแต่งกาย การเก็บของเล่นเข้าที่นั้น ในระยะเริ่มต้น ครูจะดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด และใช้การชมเชย การชักชวนให้ทำกิจกรรมร่วมกับครู ก็จะเป็นการไม่บังคับ เด็กไม่เกิดการต่อต้านและเกิดความพอใจเป็นรางวัลในการทำกิจกรรมช่วยเหลือ การหัวเราะเยาะในสิ่งที่เด็กทำ หรือการจัดแข่งขันผลงานที่อาจจะก่อให้เกิดการละอาย ก็ไม่ควรใช้ เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออกอีกต่อไปกิจกรรมในระดับก่อนประถมศึกษา เน้นผ่านการเล่น ซึ่งเป็นการสนุกสนาน สื่ออุปกรณ์ที่ใช้ ก็เรียกร้องและเชิญชวนต่อการเข้าร่วมการใช้จินตนาการ บทบาทสมมติ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อพัฒนาของเด็กวัยนี้ ก็มีการจัดให้อยู่ตลอดเวลา



บล็อก : สื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


บล็อก : สื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
บล็อค โดยทั่วไปจะมีความหมายและความสำคัญใกล้เคียงกันดังที่ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2539 : 18) ได้ให้ความหมายว่า บล็อค หมายถึง แท่งไม้หรือวัสดุทดแทนอย่างอื่น เช่น กล่องชนิดต่าง ๆ ไม้บล็อคแต่ละชุดอาจมีแบบและจำนวนแตกต่างกัน บางชุดมีขนาดเล็กมีจำนวนเพียง 20 ชิ้นบางชุดมีขนาดใหญ่จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น บล็อคเหล่านี้อาจทำขึ้นเองได้จากเศษไม้ที่นำมาตกแต่งให้เป็นรูปทรง และพัฒนา ชัชพงศ์ (ม.ป.ป. : 1 – 3, 83 – 95) ได้กล่าวถึงไม้บล็อคที่นิยมจัดไว้ในห้องเรียนอนุบาลไว้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ ในแต่ละชุดมีหลายรูปทรง เช่น สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า วงกลม ครึ่งวงกลม ฯลฯ แต่ละรูปทรงจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป สัดส่วนของไม้บล็อคจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสัดส่วนที่แน่นอน และได้กล่าวว่า บล็อคมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะเรียกชื่อแตกต่างกันตามวัสดุที่ประกอบขึ้น ซึ่งได้แก่
บล็อคกล่องกระดาษแข็ง เป็นบล็อคที่ทำจากกระดาษแข็งของกล่องใส่ของชิ้นใหญ่ ๆ
เช่น บล็อคบัสเตอร์ (Block Buster) มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายอิฐสีแดง บล็อคชนิดนี้เหมาะสำหรับเด็กเล็กมากเพราะมีน้ำหนักเบา เด็กเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ราคาไม่แพงและมีอันตรายน้อยกว่าบล็อคไม้
บล็อคเล่นบนโต๊ะ เป็นไม้บล็อคชิ้นเล็ก ๆ ที่มีรูปทรงหลายชนิด ทั้งมีสีและไม่มีสี สามารถนำมาเล่นบนโต๊ะได้
ตัวต่อพลาสติกและตัวต่อเลโก้ เป็นของเล่นที่มีหลากสี เด็กจะชื่นชอบมาก เพียงแต่นำมาวางให้ตรงกัน และกดให้เข้ากันก็สามารถต่อเป็นรูปต่าง ๆ ได้ ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้ดี ซึ่งอิชยา แสงบรรเจิดศิลป์ (2538 : 21)อธิบายเพิ่มเติมว่า ตัวต่อพลาสติกมีหลายสี แต่ส่วนใหญ่จะพบว่าในแต่ละชุดจะมีขนาดเดียวกันทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากตัวต่อเลโก้และไม้บล็อค
บล็อคกลวง เป็นบล็อคที่มีขนาดใหญ่กว่าไม้บล็อคมาก มีน้ำหนักมากและรูปทรงหลากหลายมักจะมีด้านเปิดอยู่หนึ่งด้านเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย จึงนับว่าเป็นของเล่นที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กได้ อีกทั้งช่วยให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีพลังในการเคลื่อนย้ายสิ่งของขนาดใหญ่ ๆ ได้
บล็อคที่ครูทำขึ้นเอง
บล็อคที่ทำจากไม้เราสามารถทำไม้บล็อคชุดมาตรฐานขึ้นมาได้ แต่จะต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ 2
ประการ คือ สภาพและคุณภาพของไม้ที่นำมาใช้ อีกทั้งการขัดเกลาไม้ไม่ให้มีเสี้ยนเหลืออยู่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการตำมือเด็กและเพื่อให้เด็กได้ความคิดรวบยอด และมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้องขนาดรูปร่างของไม้บล็อคจะต้องมีความถูกต้องและชัดเจนในการทำไม้บล็อคขึ้นมาเองนี้ ลำบากพอสมควร แต่ก็สามารถทำได้ก็จะช่วยประหยัดค่าวัสดุอุปกรณ์ลงไปได้มาก
บล็อคที่ทำมาจากกล่องนม
เป็นบล็อคที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองเลยและมีราคาถูกมากก็คือ บล็อคทำจากกล่องนมเราอาจจะใช้กล่องนมหลาย ๆ ชนิด เช่น ขนาดครึ่งแกลลอน หรือขนาดอื่น ๆ มาสร้างบล็อคที่มีขนาดต่าง ๆ ก็ได้ในการทำบล็อคกล่องนมนี้ ต้องใช้สิ่งต่อไปนี้
กล่องนมจำนวน 2 กล่องในแต่ละขนาด
หนังสือพิมพ์เก่า
ยางรัด
กระดาษสี (ใช้ห่อนมกล่องให้ดูเรียบร้อย
วิธีทำ
ตัดกระดาษหนังสือพิมพ์ให้มีขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากับกล่อง (ถ้าใช้มีดคัตเตอร์สะดวกกว่าการใช้กรรไกร)
ตัดส่วนบนของกล่องออกทั้ง 2 กล่อง
นำกล่องนมใบหนึ่งมาผ่าข้าง ๆ ออกตามภาพ และใช้ยางรัดปากกล่องไว้ ให้อยู่สภาพเดิม
นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ตัดไว้ใส่วงไปในกล่องให้เต็ม กดลงให้แน่น การใส่กระดาษหนังสือพิมพ์ลงไปเช่นนั้นจะช่วยให้กล่องยืนได้โดยไม่ล้ม
เมื่อบรรจุกระดาษจนเต็มแล้ว นำกล่องใบที่ 2 สวมทับเข้าไปคว่ำปากกล่องลง ยางที่รัดกล่องที่ 1 ไว้จะถูกกล่องใบที่ 2 ดันออก พยายามดันให้สุดและให้แน่น
จากนั้นห่อกล่องด้วยกระดาษสีที่เตรียมไว้ก็เป็นอันว่าเราได้บล็อคจากกล่องนมที่มีน้ำหนัก
รูปทรงแข็งแรงและทนทาน
การดูแลรักษาไม้บล็อค
ไม้บล็อคถ้าหากได้รับการดูแลจะสามารถใช้งานได้หลายปี กระดาษทรายช่วยขัดถูเสี้ยนหรือขอบมุมที่สะเก็ดแหว่งให้ราบเรียบได้ อีกทั้งยังช่วยขัดล้างความสกปรกออกไป การเคลือบเงาจะช่วยให้ไม้บล็อคสะอาดและเช็ดถูได้ง่ายขึ้น หรือเราอาจใช้น้ำมันเช็ดรักษาไม้ เช็ดถูกทำความสะอาดปีละครั้งก็จะทำให้ไม้บล็อคอยู่ยืนยาวเป็นเวลาหลายปีไม้บล็อคที่สกปรกต้องการทำความสะอาดประมาณปีละครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นการขัดเช็ดถูด้วยผ้าที่ชุบน้ำหมาด ๆ และผึ่งลมให้แห้ง ถ้าหากเหนียวเหนอะมาก ็ควรขัดด้วยแปรงจุ่มน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน จากนั้นจึงเช็ดออกและผึ่งให้แห้งก่อนที่จะขัดถูให้เป็นมันหรือทาน้ำมันรักษาไม้ก่อนนำไปให้เด็กเล่น
กิจกรรมเสนอแนะ
ถ้าหากว่าคุณครูมีไม้บล็อคอื่น ๆ เช่น บล็อคกลวง ตัวต่อเลโก้ หรือบล็อคกล่องนม
ลองสังเกตพฤติกรรมของเด็กในระหว่างการเล่นไม้บล็อคเหล่านี้ จดบันทึกพฤติกรรมที่เหมือนกันและแตกต่างกันในการเล่นบล็อคต่างชนิดเหล่านี้เปรียบเทียบกับไม้บล็อคมาตรฐาน
ถ้าคุณครูไม่เคยให้เด็กได้เล่นบล็อคกลวงมาก่อนเลย ลองจัดบริเวณในห้องเรียนและ
นำบล็อคไปใส่ไว้ให้เด็กเล่นสัก 2 สัปดาห์ สังเกตว่าเด็กชอบสร้างอะไรมากที่สุด จดบันทึกหรือวาดภาพคร่าว ๆ เอาไว้
ถ้าคุณครูมีบล็อคกลวงและให้เด็กเล่นระยะ ๆ อยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าการเล่นของเด็กนั้น
ไม่ค่อยได้พัฒนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์มากนัก ลองจัดอุปกรณ์ต่าง ๆ ใส่เข้าไป เช่นหมวกนักบินหรือหมวกวิศวกรก่อสร้างกล่องต่าง ๆ ที่มีฝาและมี
พวงมาลัยรถยนตร์ที่นำไปเชื่อมติดกับแผ่นไม้ไว้แน่นหนา
กระดาษและสีเทียน พร้อมทั้งบอกแก่เด็ก ๆ ว่า ครูเขียนให้ตามที่เด็ก ๆ
ต้องการ และอยากให้ครูจดบันทึกว่าเขาสร้างอะไรขึ้นมาบ้าง รวมทั้งป้ายต่าง ๆ ที่ติดไว้หน้าหรือบนสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมาบ้าง รวมทั้งป้ายต่าง ๆ ที่ติดไว้หน้าหรือบนสิ่งที่เขาสร้างขึ้น
ลองคิดดูซิว่าหลังจากนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ใส่เข้าไปรวมกับบล็อคกลวงแล้ว เด็กมีการเล่นแตกต่างออกไปบ้างหรือไม่ การทำบล็อคกล่องนมนี้ ควรให้พ่อแม่มีส่วนร่วมในการผลิตขึ้น เช่น ในการพบปะระหว่างครูกับผู้ปกครอง อาจจะร่วมกันทำ หรือครูอาจจะขอให้ผู้ปกครองช่วยเก็บกล่องนมและหนังสือพิมพ์ไว้ให้ และพอถึงเวลาประชุมผู้ปกครองก็ร่วมกันทำ ในครั้งแรกครูอาจจะต้องสาธิต การทำให้ดู จากนั้นผู้ปกครองลงมือผลิต ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ปกครองให้ความร่วมมือในโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนเป็นอย่างดี
ไม้บล็อคเป็นเครื่องเล่นที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับเด็กปฐมวัย และอยู่คู่กับการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยมานานแล้ว เพราะว่าไม้บล็อคเป็นสื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับพัฒนาการของเด็กทุกวัย และสามารถพัฒนาเด็กได้กว้าง ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเล่นทุกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อตัวเด็กในระยะยาว ไม้บล็อคจะมีลักษณะพิเศษที่สามารถเล่นร่วมกับรูปจำลองสัตว์และอื่น ๆ เปิดโอกาสให้เด็กเล่นบทบาทสมมติและมีความคิดจินตนาการได้กว้างขึ้น (Hendrick. 1986 : 238) บีทตี้ (Beaty 1992 : 48 – 56) ได้กล่าวว่าไม้บล็อคสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ในการเล่นไม้บล็อคเด็กจะต้องนำไม้บล็อคออกจากชั้นและเก็บเข้าที่เอง เด็กจึงได้พัฒนาทั้งกล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเด็กส่งผลให้นิ้วมือ แขน ขา แข็งแรง อีกทั้งในการสร้างกำแพงหรือหอคอยจะต้องอาศัยความสมดุลจึงเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ เด็กจะประสบความสำเร็จทุกครั้งในการทำกิจกรรมในมุมไม้บล็อค ทำให้เด็กเกิดความรู้ที่ดีต่อตนเอง และยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กรู้จักการดูแลตนเอง ดูแลเพื่อน และดูแลสื่อ
ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ในการเล่นไม้บล็อคเด็กจะได้รู้เกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เช่น ขนาด รูปร่าง การนับ การจำแนก การจับคู่ การจัดพวก รวมทั้งเรื่องของเศษส่วน เด็กจะเข้าใจความหมายของหนึ่งเท่า สองเท่า สี่เท่า ในขั้นแรกเด็กจะเรียนรู้โดยการท่องจำ แต่เมื่อได้เล่นไม้บล็อคแล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ความหมายของแต่ละจำนวน เรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของไม้บล็อคแต่ละอัน และเรียนรู้การแก้ปัญหา เช่น การสร้างสะพานต้องเลือกความยาวของไม้บล็อคที่เหมาะสมมาวางด้านบน หรือการขยับไม้บล็อคสองอันเข้ามาใกล้กันอีก ซึ่งปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างเลือกวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้สำเร็จ
ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา ขณะที่เด็กเล่นไม้บล็อคด้วยกันก็จะมีการสนทนากับเพื่อน เด็กจะได้ใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ จากชื่อของไม้บล็อครูปทรงต่าง ๆ หรือชื่อของสิ่งที่เด็กมีพัฒนาการทางภาษาอยู่ในระดับใด
ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการใช้จินตนาการและการเล่นบทบาทสมมติโดยเด็กจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งเด็กปฐมวัยจะอยู่ในวัยที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ๆ ความคิดใหม่ คำใหม่ สิ่งใหม่ ๆ เพราะเด็กยังไม่มีบทบาท และกฎระเบียบมาครอบไว้ จึงมีอิสระในการหาประสบการณ์และค้นพบด้วยตนเอง เนื่องจากลักษณะของไม้บล็อคไม่มีโครงสร้างที่ตายตัว เด็กสามารถนำมาสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
สรุปได้ว่า ไม้บล็อค หมายถึง อุปกรณ์การเล่นของเด็กชนิดหนึ่งที่ทำจากไม้ในแต่ละชุดจะมีรูปทรงและจำนวนแตกต่างกัน และส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นหรือลดลงที่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีบล็อคชนิดอื่นอีกที่ผลิตจากวัสดุหลายชนิด แต่ละชนิดมีชื่อเรียนแตกต่างกันไปซึ่งเป็นของเล่นที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา ภาษา และความคิดสร้างสรรค์
ขั้นการเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อค
มีนักการศึกษาหลายท่านได้แบ่งขั้นการเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อค ดังต่อไปนี้
จอห์นสัน (Day. 1994: 422 – 423 Citing Johnson 1982) ได้แบ่งขั้นการเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อคออกเป็น 7 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เด็กวัยนี้ไม่ได้ใช้ไม้บล็อคสำหรับนำมาก่อสร้างแต่เด็กจะถือไม้บล็อค 1 หรือ 2 อันไปรอบ ๆ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นผิวของไม้บล็อคจากการพลิกกลับไปกลับมา ขว้าง ผลักและวางโดยเริ่มจากไม้บล็อคดันเดียวก่อนแล้วจึงเพิ่มจำนวนขึ้น
ขั้นที่ 2 เด็กอายุ 2 หรือ 3 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มการก่อสร้างจริง ๆ โดยการวางไม้บล็อคเป็นแถวทั้งแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งเด็กจะมีการสร้างซ้ำ ๆ ไม้บล็อคหนึ่งอันมักถูกใช้ไปโดยสมมติว่าเป็นรถยนต์ หรือรถไฟ
ขั้นที่ 3 เด็กอายุ 3 ปี ในขั้นนี้จะเป็นการสร้างสะพานเด็กจะวางไม้บล็อคสองอันห่างกัน พื้นที่ว่างของทั้งสองอันจะเป็นระยะของการวางอันที่สาม มีการวางทั้งแนวตั้งและแนวนอน การสร้างสะพานนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กค้นพบวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 เด็กอายุ 2 , 3 หรือ 4 ปี ขั้นนี้เด็กจะวางไม้บล็อคล้อมรอบโดยมีพื้นที่ว่างอยู่ภายใน เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ข้างในและข้างนอก การสร้างในขั้นนี้เมื่อรวมกันขั้นการสร้างสะพานจะทำให้เด็กเกิดความคิดในการสร้างสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ขั้นที่ 5 เด็กอายุ 4 ปี เด็กเริ่มใช้บล็อคสร้างจินตนาการมีการออกแบบสิ่งก่อสร้างให้ได้สมดุลและตกแต่งมีแบบต่าง ๆ สิ่งที่สร้างยังไม่มีชื่อแต่สามารถทำได้ประณีต
ขั้นที่ 6 เด็กอายุ 4 – 6 ปี เด็กเริ่มให้ชื่อสิ่งก่อสร้าง ซึ่งชื่อจะมีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของสิ่งที่เด็กสร้าง และเริ่มมีการเล่นละครสร้างสรรค์
ขั้นที่ 7 เด็กอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป สิ่งที่เด็กสร้างถือเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างจริง ๆ รวมทั้งจะมีการตั้งชื่อ และนำสิ่งก่อสร้างไปใช้ในการเล่นละครสร้างสรรค์หรือพูดสิ่งที่ตนสร้างขึ้น
พัฒนา ชัชพงษ์ (ม.ป.ป. : 7 – 15)ได้แบ่งขั้นการเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อคออกเป็น 4 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการหอบหิ้วไม้บล็อคไปมา เด็กที่ยังเล็กส่วนใหญ่เล่นไม้บล็อคโดยการหอบไม้บล็อคไว้ในอ้อมแขน แล้วเดินไปเดินมา แต่ก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับน้ำหนัก ผิวสัมผัสและจำนวนไม้บล็อคที่เขาหอบแต่ละครั้ง
ขั้นที่ 2 ขั้นวางซ้อนต่อกันหรือวางเรียงต่อกันบนพื้น เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะชอบวางไม้
บล็อคซ้อนกันสูง หรือวางเรียงต่อกันระนาบกับพื้น ซึ่งด้านอาจจะไม่แตะกันได้ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของไม้บล็อค
ขั้นที่ 3 ขั้นการหาวิธีใหม่ ๆ ในการเล่นต่อไม้บล็อค เมื่อเด็กอายุประมาณ 3 – 4 ปี ที่คุ้นเคยกับไม้บล็อคมาก่อนก็จะเริ่มค้นพบการใช้ไม้บล็อคในรูปแบบใหม่ ๆ และเมื่อเกิดปัญหาก็จะหาหนทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งรูปแบบที่อาจพบเห็นได้ เช่น การสร้างวงล้อมรอบ การสร้างสะพาน การสร้างแบบ (Pattern) ต่าง ๆ ขึ้น
ขั้นที่ 4 ขั้นการตั้งชื่อ และใช้ประโยชน์สิ่งที่ก่อสร้างขึ้น อายุประมาณ 5 ปี ครึ่ง – 6 ปี เด็กมักจะตั้งชื่อสิ่งที่ตนสร้างขึ้นและใช้สิ่งที่สร้างขึ้นเล่นบทบาทสมมติสร้างจินตนาการของตนเอง
บีทตี้ (Beaty 1992 : 56 – 57) ได้แบ่งขั้นการเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อคออกเป็น 3 ขั้น ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นการใช้สัมผัส เด็กจะใช้ไม้บล็อคทำทุอย่างยกเว้นใช้ก่อสร้างเด็กจะนำไม้บล็อคออกจากชั้น และถือไปรอบ ๆ ใช้ตอก นำไปใส่กล่องหรือรถแล้วเทออก ใส่กลับเข้าไปใหม่แล้วเทออกอีก ซึ่งมักจะทำตอนที่ยังเล็ก หรือเด็กที่มีประสบการณ์น้อย
ขั้นที่ 2 ขั้นควบคุมการก่อสร้าง เด็กเรียนรู้การวางไม้บล็อคในลักษณะต่าง ๆ เช่นการสร้างหอคอยโดยการวางไม้บล็อคซ้อนกัน เด็กสามารถสร้างหอคอยได้หลายรูปแบบการวางไม้บล็อคเรียงตามพื้นราบเป็นแถวยาว การสร้างถนน การสร้างกำแพง ซึ่งเด็กจะสามารถสร้างได้อย่างประณีต เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการสร้างสะพานโดยการวางไม้บล็อค 1 อัน บนพื้นที่ว่าง
ของไม้บล็อค 2 อัน การทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจะทำให้เด็กสร้างได้ประณีตขึ้นการสร้างของเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน การสร้างในขั้นนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสมดุลและการวางไม้บล็อคในรูปแบบต่าง ๆ
ขั้นที่ 3 ขั้นให้ความหมายของการเล่นไม้บล็อค เป็นการประยุกต์ทักษะที่เด็กเรียนรู้มาใช้ในการก่อสร้าง เด็กอาจจะตั้งชื่อสิ่งที่เด็กสร้างทันที หรือคอยจนกระทั่งสร้างเสร็จก่อ จึงตัดสินใจว่าสิ่งที่เขาสร้างคืออะไร ในขั้นให้ความหมายนี้อาจจะเป็นเพียงแต่เด็กสร้างสิ่งที่เขาพบเห็นจากการไปทัศนศึกษา หรือแม้แต่สร้างจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเอง
จะเห็นได้ว่าเด็กจะพัฒนาการเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อคได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของเด็ก ฉะนั้นการที่ครูมีความรู้เกี่ยวกับขั้นการเล่นก่อสร้างด้วยไม้บล็อคจะทำให้ทราบถึงระดับความสามารถของเด็ก เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กพัฒนาขึ้นได้อย่างเหมาะสม
การเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์จากการเล่นไม้บล็อค
การสร้างขนาดและรูปร่างของไม้บล็อควางอยู่บนพื้นที่ของทักษะที่จำเป็นที่สุดที่จะต้องใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์โโยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของสัดส่วน ยกตัวอย่างเช่น ไม้บล็อคแท่งมาตรฐานจะมีขนาดเท่ากัน แท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 แท่ง และแท่งทวีคูณจะมีขนาดเท่ากับแท่งมาตรฐาน 2 แท่ง เป็นต้น
เด็กเรียนรู้ความคิดรวบยอดจากการเล่นไม้บล็อค
มากกว่า – น้อยกว่า
สูงกว่า – ต่ำกว่า
ใหญ่กว่าเป็น 2 เท่า
ยาวเพียงครึ่งเดียว
เรียกชื่ออย่างไร
สี่เหลี่ยมจัตุรัส
- สี่เหลี่ยมผืนผ้า
- สามเหลี่ยม
- ทรงกระบอก
- การนับ
- สี่เหลี่ยมจัตุรัส 3 อัน
- สี่เหลี่ยมผืนผ้า 4 อัน
นอกจากนี้เด็กยังได้ทักษะทางการเรียนรู้ เช่น
นำไม้บล็อคที่มีรูปร่างเหมือนกันไว้รวมกัน (ซึ่งบางครั้งเด็กจะเอามาซ้อนกันหรือวางเรียงต่อกัน) เราเรียกว่า เป็นการจัดหมวดหมู่ (Classification) หรือจัดกลุ่ม (Grouping) ขั้นต่อมาเด็กอาจจะเรียกชื่อเป็นกลุ่ม ๆ ได้ เช่น หนูเอาสี่เหลี่ยมจัตุรัสไว้ตรงนั้นซ้อนกัน ส่วนแท่งทรงกระบอกหนูเอาใส่ตะกร้าไว้ เป็นต้น
ภาพที่ 1 การต่อไม้บล็อคของเด็กปฐมวัยในลักษณะรูปร่างเหมือนกันไว้ด้วยกัน
เรียงลำดับ บางครั้งเด็กอาจจะใช้เกณฑ์ของความสูง เช่น เรียงจากอันสั้นที่สุด ต่ำที่สุด ไปสู่อันสูงที่สุด เป็นต้น
ภาพที่ 2 การต่อไม้บล็อคของเด็กปฐมวัยในลักษณะเรียงลำดับ
สังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างไม้บล็อค หรืออุปกรณ์เสริมแต่ละชิ้น เช่นเด็กอาจสังเกตเห็นว่าไม้บล็อคสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 แท่งจะวางบนไม้บล็อคแท่งมาตรฐานได้พอดี ฉะนั้นไม้บล็อคจัตุรัส 2 แท่ง จะมีความยาว “เท่ากับ” ไม้บล็อคแท่งมาตรฐาน 1 อัน
ภาพที่ 3 การต่อไม้บล็อคของเด็กปฐมวัยในลักษณะการสังเกตเห็นความแตกต่างของบล็อค
2.สามารถสังเกตได้ว่าจำนวนไม้บล็อค 2 ชุด อาจจะมีจำนวนในแต่ละกลุ่มเท่ากันแต่ 2 ชุดนี้อาจมีรูปร่างต่างกัน
ภาพที่ 4 การต่อไม้บล็อคของเด็กปฐมวัยในลักษณะการสังเกตจำนวนกับรูปร่างของบล็อค
ทักษะต่าง ๆ เช่น การจัดเข้าพวก เรียงลำดับ หรือเข้าใจจำนวนที่เท่ากับทักษะที่ใช้เป็นทักษะการคิดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นที่เด็กทุกคนจะเรียนรู้ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ไม้บล็อคเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็กได้พัฒนาและเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นเหล่านี้
ทักษะหรือความรู้บางอย่าง เด็กเรียนรู้จากการเล่นไม้บล็อคโดยที่ครูหรือผู้ใหญ่ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเลย เด็กสามารถเรียนรู้ได้เองจากการเล่น เราอาจจะเห็นพฤติกรรมของเด็ก ๆ ดังต่อไปนี้
จัดเรียงไม้บล็อคเข้าเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น พวกสี่เหลี่ยมจัตุรัสไว้ที่หนึ่งแท่งยาวจัดไว้อีกทีหนึ่ง เป็นต้น
จัดเรียงไม้บล็อคตามความคิดของตน เช่น เตี้ยไปหาสูง อันสั้นที่สุดไปหายาวที่สุดเป็นต้น
ค้นพบและทดลองช้า ๆ ว่าแท่งไม้สี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 อันเมื่อนำมาเรียงต่อกัน จะมีความยาวเท่าแท่งมาตรฐาน 1 อัน
นับและรู้ว่าการสร้างบางสิ่งบางอย่างจะต้องใช้ไม้บล็อคกี่อัน เช่น สร้างถนนใช้ไม้บล็อค 8 อัน เป็นต้น
สร้างแบบแผน หรือต้นแบบขึ้นมาอันแล้วอันเล่า
ภาพที่ 5 การต่อไม้บล็อคของเด็กปฐมวัยในลักษณะ Pattern
ซึ่งนั่นหมายความว่า เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการเล่นไม้บล็อค แต่จะมีสิ่งที่เด็กไม่สามารถเรียนรู้จากการเล่นคนเดียวในมุมไม้บล็อค คือ ชื่อและคำหรือภาษาที่ใช้อธิบายผลงานหรือสิ่งที่ตนค้นพบ ซึ่งอันนี้เป็นบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญที่จะมีส่วนในการพัฒนาการของเด็ก โดยให้เด็กได้อธิบายในสิ่งที่เขาทำ ในสิ่งที่ครูมองเห็นการอธิบายสิ่งที่เด็กสร้างขึ้น ช่วยสร้างและเพิ่มพูนคำศัพท์ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กฝึกการคิดหาคำมาอธิบายให้ตรงกับความตั้งใจของตน บางทีเด็กก็ไม่ทราบว่าตนได้ทำหรือสร้างอะไรน่าสนใจ แต่จากการที่ครูอธิบายหรือเล่าว่าครูมองเห็นว่าเป็นรูปอะไรมีอะไรบ้าง ช่วยให้เด็กมองเห็นชัดเจนว่าตนได้พัฒนาและทักษะทางคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น โดยการพูดเป็นหรือการสนทนากับเด็กเกี่ยวกับสิ่งที่เขาผลิตหรือสร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น
“อ้อ หนูรู้ว่าแท่งเล็ก 2 แท่งนี้มาวางเรียงกันแล้วจะยาวเท่ากับแท่งใหญ่พอดี ใช่ไหมเอ่ย”
“สิ่งที่หนูสร้าง สูงเท่ากับชั้นวางของเลยนะคะ”
“เมื่อวานนี้ครูเห็นหนูสร้างอาคารสูง ๆ แต่วันนี้หนูสร้างอาคารเตี้ย ๆ ต่อกัน ยาว ๆ ไม่เหมือนเมื่อวานนี้”
“ถนนที่หนูสร้างใช้ไม้บล็อคขนาดเดียวกันทุกอันเลย”
“หนูใช้ไม้บล็อค 4 อัน เพื่อสร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัส”
การใช้คำถามของครู เป็นการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษา และฝึกฝนการคิดจนเกิดเป็นทักษะ เพราะเมื่อครูถามคำถาม เด็กมองยังสิ่งของที่ตนสร้างขึ้น เด็กจะคิดและรับรู้ว่าตนได้ทำอะไร หรือผู้อื่นมองเห็นเช่นเดียวกับตนคิดขึ้นมาหรือไม่ และทำไมจึงมองเห็นเป็นเช่นนั้นเป็นต้นตัวอย่างคำถามอาจจะได้แก่
“หนูทำวงกลมนี้ได้อย่างไร ก็เราไม่มีไม้บล็อคอันที่เป็นวงกลมเลย”
“มีกี่วิธีที่จะนำไม้บล็อคมาวางเรียงให้เหมือนกับไม้บล็อคที่ครูวางไว้นี้”
“หนูใช้ไม้บล็อคกี่อัน ลองนับดูซิจ๊ะ”
“แท่งไม้กระบอกนี้สั้นกว่าหรือยาวกว่าอันที่สมชายถืออยู่ในมือ”ฯลฯ
ครูเป็นผู้ที่จะช่วยให้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กขยายกว้างไปได้อีก โดยวิธีต่าง ๆ ในเวลาที่ต่างกัน เช่นในเวลาเก็บของเพราะหมดเวลา ครูอาจจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับศัพท์ เช่น “นี่คือแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขอให้ทุกคนนำแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสมาให้ครู นะคะ”“ครูจะส่งไม้บล็อคให้เด็ก ๆ คนละ 2 แท่ง เพื่อนำไปไว้ในชั้น” ใช้ในเวลาเก็บไม้บล็อคเข้าที่เมื่อหมดเวลาของกิจกรรมนี้ในกรณีเด็กคนใดคนหนึ่ง ม่สามารถสร้างต่อไปให้ครูอาจจะพูดว่า “ครูเห็นแล้วแหละ หนูซ่อนไม้บล็อคแท่งยาว แต่ไม่มีไม้บล็อคแท่งยาวเหลืออยู่ ลองเอา 2 แท่งสั้นนี้มาต่อกันอาจยาวเท่ากับแท่งยาวละมัง”การช่วยขยายในสิ่งที่เด็กทำ เช่น ช่วยนำสายวัดมาวัดว่าเขาสร้างได้สูงต่างกัน เป็นต้น
แก้ไขปัญหาจากการเล่นไม้บล็อค
เมื่อเด็กลงมือสร้างด้วยไม้บล็อคและเกิดปัญหาขึ้นมาต้องแก้ไข เช่น สร้างถนนมาชนกัน อาจจะต้องการสร้างสะพานข้าม อุโมงค์ลอด ฯลฯ บ้านที่สร้างต้องการหน้าที่ต่างหรือต้องการบันไดเพื่อขึ้นสู่ชั้นบน เหล่านี้เป็นปัญหาในการก่อสร้างทั้งนั้น
การที่ต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เป็นการท้าทายที่สำคัญ เด็กอาจจะสนใจและลงมือทำการแก้ไขปัญหานี้เป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้เพราะเขามีความสนใจและต้องการที่ค้นพบคำตอบ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดจากภายในตัวเด็กเองก่อนอื่นเด็กจะต้องเริ่มคิดถึงปัญหาก่อน จากนั้นอาจจะมีมีการลองผิดลองถูก ว่าจะทำอย่างไรดี บางทีลองแล้วลองเล่า วิธีโน้นวิธีนี้ แต่เมื่อใดที่สำเร็จความภาคภูมิใจที่ตนทำได้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง จะช่วยให้เด็กเกิดความมั่นใจและมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองสำหรับเด็กแล้วการที่จะตัดสินใจว่าจะสร้างสะพานข้าม หรือเจาะอุโมงค์หรือสร้างบันไดไม่ง่ายนัก อยากจะขอให้คุณครูได้ทดลองทำด้วยตนเองจะทราบว่าเราต้องใช้ความคิด การเอาใจใส่อย่างระมัดระวัง ละความตั้งใจที่จะทำอย่างจริงจังจะสำเร็จลงได้คุณครูหลายคนเคยถามว่า “เมื่อใดจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่เราจะเข้าไปช่วยเด็กที่กำลังพยายามแก้ไขปัญหาของตนเองอยู่” ซึ่งก็คงไม่มีคำตอบตายตัว แต่มีข้อคิดดังต่อไปนี้ปล่อยให้เด็กลงมือแก้ไขปัญหาของตนเอง ตราบใดที่เขาไม่หงุดหงิดและท้อแท้รอให้เด็กเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ เราจึงจะเข้าไปช่วยให้กำลังใจ เช่น “หนูพยายามมากเลย เดี๋ยวคงจะทำได้ เจาะอุโมงค์ เช่นนั้นทำยากเหมือนกันนะ”แต่ถ้าเผื่อเด็กเริ่มหงุดหงิดและโมโห หรือบอกว่าหนูทำไม่ได้ คุณครูก็เข้าไปช่วยได้ในขณะเดียวกันก็ให้กำลังใจและคำชม เช่น “หนูกำลังแก้ไขปัญหาที่ยากน่าดู และหนูก็เก่งมาก ทำได้มาจนถึงขั้นนี้ มาช่วยกันคิดซิ เราจะทำอะไรต่อไปดีล่ะ”ชื่นชมในความสำเร็จของเด็ก “โอ้โฮ หนูทำสะพานข้ามได้ ดูท่าทางแข็งแรง ดีเก่งจังเลย”อาจจะให้ดูภาพจริงของการก่อสร้างที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้กำลังใจว่าสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมานั้นจริง ๆ แล้วมีประโยชน์ และมีการสร้างเช่นนั้นในชีวิตจริง ๆ ของคนเราด้วยและเมื่อเขามีโอกาสฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองแล้ว เขาจะพอใจและลงมือทำในสิ่งที่เขาค้นพบซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ทราบว่าคุณครูเคยเห็นเด็กเป็นเช่นนี้บ้างหรือเปล่าและหลังจากนั้นเขาจะเพิ่มเติมสิ่งที่เขาสร้างให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น มีการขยายและตกแต่งให้น่าสนใจ น่าดูและมีความท้ายทายมากขึ้นกิจกรรมเสนอแนะสำหรับคุณครูสังเกตการเล่นไม้บล็อคของเด็ก คุณครูจะพบสิ่งต่อไปนี้
- เด็กมีความพยายามที่จะสร้างในสิ่งที่ตนสนใจและอยากทำ
- เมื่อเด็กทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เขาอาจจะสร้างซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง
- เด็กจะเพิ่มเติม ตกแต่งให้น่าดู น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
คุณครูลองเล่นไม้บล็อค โดยสร้างสิ่งเหล่านี้สะพาน สะพานข้ามถนนบันไดขึ้นบ้าน มีความสูงอีก 5 – 7 ขั้นบ้านที่มีทั้งหน้าต่าง และหลังคาจดบันทึกผล ปัญหาและความรู้สึกของครูที่มีต่อการสร้างนั้น ๆ

ตัวอย่างตัวต่อพลาสติกสร้างสรรค์
ตัวอย่างตัวต่อเลโก
ของเล่นประกอบไม้บล๊อก




เกมการศึกษามิติสัมพันธ์
เกมการศึกษามิติสัมพันธ์เป็นเกมที่ใช้รูปเรขาคณิตมาจัดทำเป็นเกม สามารถจำแนกและมีชื่อเรียกตามลักษณะของรูปภาพ ดังนี้
1 เกมซ้อนภาพ เป็นเกมที่มีภาพ 2 ภาพในบัตรหลัก ให้เด็กคิดว่าถ้าเรานำภาพมาทางขวามือมาซ้อนกับภาพทางซ้ายมือแล้วจะเกิดเป็นภาพใดมาวางต่อกัน2 เกมซ่อนภาพ เป็นเกมที่บัตรหลักมีภาพหลายรูปซ่อนอยู่ ให้เด็กหญิบบัตรภาพที่มีภาพเหมือนกับภาพในบัตรหลักมาวางเรียงต่อกัน3 เกมนับลูกบาศก์ เป็นเกมที่บัตรภาพเป็นภาพลูกบาศก์ที่วางในรูปแบบที่ต่างกัน ให้เด็กหาบัตรภาพที่มีจำนวนเท่ากันมาจัดเข้าคู่กัน4 เกมต่อภาพ เป็นเกมที่บัตรหลักเป็นภาพสมบูรณ์ ให้เด็กได้เลือกบัตรภาพ 2 ภาพ ที่สามารถนำมาต่อกันแล้วเป็นภาพที่สมบูรณ์เหมือนบัตรหลัก 5 เกมอนุกรม เป็นเกมที่ในบัตรภาพได้วางภาพเรียงต่อกันอย่างต่อเนื่องกันแต่มีบางภาพในบางช่องหายไป ให้เด็กหาบัตรภาพที่หายไปมาวางลงในช่องว่าง6เกมประกอบภาพเป็นเกมที่บัตรหลักมีรูปเรขาคณิตหลายรูปอยู่ในบัตรหลักให้เด็กหาบัตรภาพที่มีภาพเรขาคณิตเหมือนในบัตรหลัก แต่ได้นำมาประกอบเป็นรูปต่าง ๆ แล้วมาจัดเข้าคู่กัน7 เกมแยกภาพ เป็นเกมที่บัตรหลักเป็นภาพที่สมบูรณ์แต่มีขีดแบ่งภาพเป็น 2 ส่วนหรือมากกว่านั้น ให้เด็กหาบัตรภาพที่มีชิ้นส่วนของบัตรหลักที่ถูกแบ่งแล้ว มาจัดเข้าคู่กัน
หลักการในการใช้เกมการศึกษาราศี ทองสวัสดิ์ (2523 : 79) แสดงความคิดเห็นในเรื่องการนำเกมการศึกษาไปใช้ว่า1. ครูควรเตรียมเกมการศึกษาไว้ให้เพียงพอ2. ลักษณะของเกมอาจเป็นภาพตัดต่อ จับคู่ภาพเหมือน โดมิโน การแยกหมู่3. เวลาที่ใช้ฝึกนี้กำหนดไว้เป็น ๆ กิจกรรม เพราะอุปกรณ์แต่ละชุดจะให้ผลต่อเด็กไม่เหมือนกัน ดังนี้ ครูจึงควรจัดหมุนเวียนให้เด็กเล่นหรือฝึกทุกชุดให้ทั่วถึงกัน4. เกมหรืออุปกรณ์ที่จะใช้ควรมีพอที่จะหมุนเวียนกันอยู่เสมอ หากจำเจ เด็กอาจเบื่อไม่อยากเล่นอารี เกษมรัติ ( 2523 : 71-72) กล่าวว่า ควรลำดับเกมตามความสามารถ เริ่มจากสิ่งที่ไม่ละเอียดนักเพราะเด็กจะสังเกตสิ่งที่ใหญ่ก่อน เมื่อเด็กมีความสังเกตจดจำมากแล้วจึงจะให้เด็กได้สังเกตส่วนย่อย ๆ หรือส่วนละเอียดมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น จึงควรให้เด็กได้เล่นเกมที่มีความยากเพิ่มขึ้นเพื่อให้เด็กรู้จักคิด รู้จักสังเกตจดจำอย่างมีเหตุผลมากขึ้น วิธีการที่ให้เด็กเล่นอาจให้เด็กเป็นกลุ่มเล่นคนละชุด หรือ 2 คนต่อ 1 ชุด ใครเล่นเสร็จก่อนถูกต้องตามกติกาก็ให้เล่นเกมชุดอื่นต่อไป ในระยะแรกเด็กจะสังเกตและลองเล่นบ้าง โดยผลัดกันเล่นครั้งละ 6 - 8 คน เด็กจะเล่นแบบนี้สักระยะหนึ่ง จากนั้นครูจึงให้เด็กเล่นเองโดยแบ่งกลุ่มให้รับผิดชอบ แต่ละเกมจะวางกติกาไว้ว่า แต่ละกลุ่มต้องไม่ส่งเสียงดัง ต้องไม่แย่งกันเล่นด้วยความรวดเร็ว และถูกต้อง รู้จักรักษาของ ไม่ทำสกปรกหรือฉีกขาด เล่นเสร็จแล้วต้องเก็บให้เรียบร้อย เมื่อเด็กมีความชำนาญในการเล่นมากขึ้น ครูต้องเพิ่มเกมให้เด็กเล่นโดยจัดเกมที่ยากและแปลกขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เด็กได้รู้จักคิดสังเกตและจดจำอย่างมีเหตุผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของเด็กด้วย
ลำดับขั้นตอนในการจัดเกมการศึกษา ในกรณีที่เป็นเกมใหม่ เด็กไม่เคยเล่นเกมเลย ควรปฏิบัติดังนี้1. ครูให้เด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม ครูแนะนำชื่อเกมจำนวนชิ้นและประกอบด้วยภาพอะไรบ้าง2. ครูสาธิตการเล่นเกมให้เด็กดู แล้วให้เด็กออกมาร่วมสาธิตในการเล่น3. หลังจากนั้นให้เด็กฝึกเล่นเกมทุกคนในกรณีที่เด็กเล่นเกมมาแล้ว อาจปฏิบัติได้ดังนี้4. ครูจัดวางเกมไว้ให้เด็กได้เลือกหยิบเล่นตามความสนใจของเด็ก5. ให้เด็กได้เล่นทั้งเกมเก่าและเกมใหม่ตามที่จัดไว้6. เมื่อเด็กเล่นเกมแต่ละชุดเสร็จแล้ว ฝึกให้เด็กเก็บเกมให้เรียบร้อยและอยู่ในสภาพที่จะนำไปใช้ได้อีก
แนวทางประเมินผล1. สังเกตความถูกต้องในการเล่น2. สังเกตความเรียบร้อยในการวางบัตรภาพ3. สังเกตความสามารถในการสังเกตและเปรียบเทียบ4. สังเกตความรับผิดชอบในการเก็บเกมเข้าที่เมื่อเล่นเสร็จแล้ว5. สังเกตการเล่นกับกลุ่มเพื่อน
ขั้นตอนการผลิตเกมการศึกษา1. หาภาพ เลือกภาพ หรือสร้างภาพขึ้นเอง2. ระบายสีภาพ3. ตัดภาพที่ระบายสีแล้ว4. จัดกระดาษแข็ง เบอร์ 24 เขียนชื่อชุดด้านหลัง5. นำภาพมาปะบนกระดาษแข็งที่ได้เตรียมไว้6. ตัดขอบเกมด้วยปากกาสี7. เคลือบเกม ด้วยการใช้สติกเกอร์ใสติด หรือฉีดแลคเกอร์8. ทำเฉลยเกมที่ด้านหลัง9. บรรจุเกม

มาฝึกร้องเพลงกันเถอะ


เพลง เป็ดน้อยเป็ดน้อย 3 ตัว เตาะแตะตามกัน
เดินเพลิดเพลินมาในไพรวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง
เป็ดน้อย 2 ตัว กลับมาน่าชัง
เป็ดน้อย 2 ตัว เตาะแตะตามกัน
เดินเพลิดเพลินมาในไพรวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อย 1 ตัวกลับมาน่าชัง
เป็ดน้อย 1 ตัว เตาะแตะตามกัน
เดินเพลิดเพลินมาในไพรวัลย์
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อย ไม่กลับ มาเออ น่าชัง
แม่เป็ดขนงามเดินตามลูกไป
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ กึงก้องในไพร
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ แม่เรียกเสียงดัง เป็ดน้อย 3 ตัว กลับมาดีจัง
..................................................................................................
เพลงนับนกกระจิบ
**นั่นนกบินมาลิบ ลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว**

ไม่มีความคิดเห็น: