วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เกมการศึกษาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

























































กิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมนอกเหนือจากกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่ไม่ได้ระบุไว้ ในตารางกิจกรรมประจำวัน แม้จะไม่ได้ระบุไว้ แต่ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก
ควรพิจารณาเลือกใช้ อาทิ กิจกรรมการเล่านิทาน กิจกรรมเพลง กิจกรรมคำคล้องจอง กิจกรรมเตรียมเด็กให้สงบ กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมปริศนาคำทาย กิจกรรมปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมประกอบอาหาร กิจกรรมเกม กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด๋กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยายด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ 1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ 2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า “หน่อง” หนักกว่า “ปุ้ย” แต่บางคนบอกว่า “ปุ้ย” หนักกว่า “หน่อง” เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่ง น้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก 3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น 5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง 6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น 2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน 4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ 6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ 8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์ 12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
หลักการสอนคณิตศาสตร์1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน 2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ “พบคำตอบด้วยตนเอง” 3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี 4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก 5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียนพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม 6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิทของเด็กเพื่อสินประสบการณ์ใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ 7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ 8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ 9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข 10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไข ปรับปรุง 12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงควบคิดรวบยอดเดียว 13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก 14. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล 2. มะม่วง 2-3 ผล3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม ขั้นจัดกิจกรรม 1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ 2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร 3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล 4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้ 5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้ การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ ตัวอย่างกิจกรรม จับคู้ลูกหมู จุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน อุปกรณ์ 1. แผ่นผ้ายสำลี 2. ภาพลูกหมู 3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ) ขั้นจัดกิจกรรม 1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง 2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากกการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสี จุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน ขั้นจัดกิจกรรม 1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว 2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม 3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด 4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม ตัวอย่างกิจกรรม การอนุรักษ์ปริมาณจุดประสงค์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณอุปกรณ์ 1. ถ้วยตวงชนิดใส 3-4 ใบ 2. แก้วที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ ขั้นจัดกิจกรรม 1. เทน้ำใส่ถ้วยตวงทั้งหมดที่มี ให้มีปริมารน้ำเท่ากันทุกใบ อาจหยดสีผสมอาหารใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เด็กมองเห็นระดับน้ำได้ชัดเจน 2. แจกถ้วยตวงพร้อมกับแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ แก่เด็กเป็นคู่ ๆ 3. ให้เด็กเทน้ำจากถ้วยตวงใส่ลงแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ 4. ให้เด็กเปรียบเทียบปริมาณน้ำจากแก้วกับถ้วยตวง 5. สนทนาโดยใช้คำถาม “ปริมาณน้ำที่เด็ก ๆ เห็นต่างกันหรือไม่” 6. สรุปเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์วิธีที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กคือการสนทนา พูด คุยขณะทำกิจกรรม อีกวิธีหนึ่งคือการสังเกตผลจากการ ประเมิน จะช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็กประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก แต่ละคนว่ามีพัฒนาการมากน้อยเพียงใด
ข้อควรคำนึงในการประเมินผล1. สอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2. เครื่องมือที่ใช้จะต้องมีความเหมาะสมกับ เรื่องการวัดและ เหมาะสมกับวัยของเด็ก 3. ผลหรือข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะต้องตีความได้ง่าย ไม่ ลำเอียง4. ผลหรือข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือประเมินผลชนิดต่างๆ ควร รวบรวมจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่ง เช่น ข้อมูลที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก เก็บจากเด็ก จากพ่อแม่และจากผู้มีส่วนร่วมในโรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

กิจกรรมการเล่านิทาน คือการเล่าเรื่องต่างๆ โดยใช้หนังสือภาพ หนังสือนิทาน หุ่นต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นถุง หุ่นนิ้วมือ หุ่นชัก หรือแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้เด็กฟัง สนทนา โต้ตอบ อภิปราย ซักถาม
แสดงข้อคิดเห็นและสามารถให้เด็กแสดงท่าทางประกอบ เรื่องราว หรือเล่าประสบการณ์รอบตัว กิจกรรมการเล่านิทานนี้....อาจจัดเป็นกิจกรรมแทรกใน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ในตาราง กิจกรรมประจำวัน หรืออาจแยกออกมาจัดโดยเฉพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ เหมาะสมและดุลยพินิจของผู้เลี้ยงดูเด็ก
วัตถุประสงค์ 1. โดยธรรมชาติเด็กชอบฟังนิทานมาก กิจกรรมการเล่านิทานจึงสนองความต้องการทางธรรมชาติของเด็ก 2. เพื่อให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์เครียด สนุกสนาน เพลิดเพลิน3. ยืดช่วงความสนใจ ฝึกสมาธิ ฝึกด้านการฟัง 4. ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 5. เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย 6. เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสังคม 7. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมการเล่านิทานธรรมชาติของเด็กชอบฟังนิทาน เมื่อเด็กรู้ว่าผู้เลี้ยงดูเด็กจะเล่า นิทาน เด็กจะมีความกระตือรือร้นอยากฟัง ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก ดำเนินกิจกรรมการเล่านิทาน จะมีเด็กที่สนใจอยากมีส่วนร่วม โดยอยู่ไม่นิ่ง ไม่นั่งอยู่กับที่ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรสร้างข้อตกลงกับ เด็กก่อนจะเริ่มเล่านิทาน ขณะที่กำลังเล่านิทานผู้เลี้ยงดูเด็กควร จะกระตุ้นเด็กด้วยคำถามเพื่อให้เด็กมีสมาธิมีความตั้งใจฟังเพื่อ เก็บเรื่องราวไว้ตอบคำถามของผู้เลี้ยงดูเด็ก การที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะ
ให้เด็กสนใจฟังผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรเลือกนิทานที่สร้างความตื่นเต้น เร้าความ สนใจของเด็ก รวมทั้งรูปแบบในการเล่านิทานซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะเลือกใช้ รูปแบบที่เสนอแนะไว้ต่อไปนี้ 1. อ่านจากหนังสือนิทานโดยตรง 2. ใช้หุ่นต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นถุง หุ่นนิ้วมือ หุ่นชัก 3. ใช้แผ่นภาพประกอบหรือใช้ภาพพลิก 4. ใช้แผ่นป้ายผ้าสำลีประกอบ 5. ใช้ท่าทาง สีหน้า แววตา และน้ำเสียงประกอบการเล่า 6. ใช้วาดภาพบนกระดานให้เด็กคอยติดตามเหตุการณ์ของเรื่อง
รูปแบบที่กล่าวนี้ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้รูปแบบที่ถนัดและเหมาะสมกับบุคลิกภาพความ สามารถของตนเองข้อเสนอแนะ การเล่านิทานเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เลี่ยงดูเด็กแต่ละคนมีความถนัด ความสามารถแตกต่างกัน องค์ประกอบต่างๆ นี้ช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความสามารถในการเล่านิทานมากขึ้น หากผู้เลี้ยงดูเด็กมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ องค์ประกอบต่างๆ คือ
1. เนื้อเรื่อง ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกเนื้อเรื่องที่เหมาะสมกับวัย ไม่สั้นหรือ ยาวเกินไป แต่อยู่ในระหว่างช่วงความสนใจของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะ จำเนื้อเรื่องที่เล่าได้ดี 2. เสียง ควรจะให้เด็กทั้งหมดได้ยินอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่จำเป็นต้อง ตะโกน ขณะที่เล่าระดับเสียง และจังหวะพูดต้องถูกต้อง ใส่ความรู้สึกลง ไปด้วย มีระดับเสียงสูง-ต่ำ หากให้ดีผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะทำเสียงต่างๆ ตามลักษณะของตัวละคร เช่น เสียงเด็ก เสียงคนแก่ เสียงผู้ชาย-ผู้หญิง เสียงสัตว์ 3. ท่าทาง เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะใช้บ้างเป็นบางโอกาสหรืออาจจะ ใช้ท่าทางเพื่อเป็นภาษาท่าทางให้เด็กคิด และทายว่าผู้เลี้ยงดูเด็กกำลัง แสดงท่าทางอะไร 4. จังหวะ จังหวะของการพูดเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้นิทานน่าสนใจมาก ขึ้น ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรฝึกฝนเรียนรู้จังหวะในการเล่าโดยศึกษาทำความ เข้าใจกับ นิทานเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อนที่จะนำมาเล่า ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจะมองสบตากับเด็กทุกคนขณะที่เล่านิทาน5. อารมณ์ ในขณะเล่านิทาน ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเล่าให้เด็กเห็นและเข้าใจ ความรู้สึกและอารมณ์ของ ผู้เล่า เช่น อารมณ์ ที่ตื่นเต้น อารมณ์รื่นเริง อารมณ์โกรธ หรืออารมณ์เศร้า เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้สามารถพัฒนา วุฒิภาวะทางอารมณ์ 6. ข้อตกลง ก่อนฟังนิทาน ควรสร้างข้อตกลงกันก่อน เช่น เด็กๆ ควรจะ นั่งอยู่กับที่ขณะผู้เลี้ยงดูเด็กเล่านิทานไม่พูดแซงขณะที่ฟังนิทาน เป็นต้น แต่การสร้างข้อตกลงนี้ไม่ควรเป็นการบังคับจนเด็กรู้สึกอึดอัด ซึ่งแทนที่ เด็กจะมีความสุขจากการฟังนิทาน กลับกลายเป็นความทุกข์ 7. เวลา ในการเล่านิทานผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะคำนึงถึงช่วงอายุและความ สนใจของเด็ก อาทิเด็กอายุ 5-6 ปีช่วงความสนใจประมาณ 12-15 นาที ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงไม่ควรใช้เวลาในการเล่านิทานมากเกินไป หรืออาจจะ สังเกตขณะที่กำลังเล่านิทาน หากเด็กส่วนใหญ่เริ่มไม่อยู่นิ่ง ไม่สนใจฟัง ผู้เลี่ยงดูเด็กควรจะหยุดการเล่า และให้เด็กเปลี่ยนกิจกรรมอื่นต่อไป 8. สถานที่ ควรเป็นสถานที่ที่เงียบ สงบ สบาย สะอาด ผู้ดูแลเด็กอาจพา เด็กไปนั่งฟังนะทานใต้ต้นไม้ใหญ่ภายในบริเวณศูนย์ ให้เด็กนั่งสบายๆ ไม่บังคับให้เด็กนั่งตามที่ผู้เลี้ยงดูเด็กอยากให้นั่ง 9. การเลือกนิทาน นิทานมีหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะสมกับ ความต้องการและธรรมชาติของเด็กด้วย

ในการเลือกนิทานควรจะพิจารณาจาก - วัยของเด็ก ว่าเด็กมีความสนใจชอบฟังนิทานประเภทใด ความยาวของนิทานควรเหมาะสมกับช่วงความสนใจ- เนื้อหาสาระ พิจารณาว่าสอดแทรกข้อคิดปลูกฝังคุณธรรม และมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดโดยคำนึง ลักษณะของตัวละครว่า มีลักษณะและพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเด็ก ประเภทของนิทานที่ไม่ควรนำมาเล่าให้เด็กฟัง เช่น ที่มีความยาว เดินเรื่องช้า มีรายละเอียดมาก นิทานที่น่ากลัว หรือมีการเทศนาสั่งสอนมากเกินไป หรือนิทานที่แฝงด้วยปรัชญา ความคิดที่ยาวเกินไปสำหรับเด็ก - รูปภาพประกอบ พิจารณาว่ารูปภาพประกอบในนิทานมีสีสันสวยงาม มีขนาดพอ เหมาะ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ภาพชัดเจน
การประเมินผล ในการประเมินผลผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะสังเกตว่า เด็กมีความสน ใจติดตามเรื่องตลอดหรือไม่ มีการตอบสนองหรือไม่ เช่น เด็ก สนใจเข้าร่วมกิจกรรม มีการสนทนา ซักถามแสดงข้อคิดเห็น กล้าแสดงออก ร่วมทั้งเด็กเข้าใจภาษาที่ใช้เล่าหรือไม่
กิจกรรมเพลงเพลงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรเปิดโอกาสให้เด็ก เพลิดเพลินต่อการฟังเพลงหรือร้องเพลงหากในระยะแรกๆเด็กยัง ไม่พร้อมที่จะร้องเพลงสนใจเพียงการฟังเพลงก็ควรเปิดโอกาสให้ เด็กได้ฟัง ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะร้องหรือเปิดเพลงจากวิทยุ จากเทป ให้เด็กฟังหรือร้อง รวมทั้งแสดงท่าทางประกอบไปตามจังหวะของ เพลง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้บริหารร่างกายตามธรรมชาติ ได้พักผ่อน อารมณ์หรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพลงที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาใช้สอน เด็กควรให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
วัตถุประสงค์ กิจกรรมเพลงจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาเรียน 2. เพื่อให้เด็กได้รับความรู้จากบทเรียนโดยไม่รู้ตัว 3. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ 4. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมที่เด็กมีโอกาสเข้ากับผู้อื่นและร่วมงานกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น เกิดความสามัคคี 5. เพื่อให้เด็กมีความคิดริเริ่ม จินตนาการในการแสดงท่าทางประกอบ 6. เพื่อกล่อมเกลาให้เด็กมีนิสัยอ่อนโยน 7. เพื่อปลูกฝังนิสัยและพื้นฐานทางนาฎศิลป์และดนตรีเบื้องต้นให้แก่เด็ก
ลักษณะเพลงที่เหมาะสมกับเด็ก 1. มีเนื้อร้องง่าย ๆ ใช้คำง่าย ๆ เพื่อให้เด็กฟังแล้วเข้าใจในเนื้อเพลงได้ 2. เนื้อเพลงนั้นพอสมควร ไม่ยาวเกินไป เพราะเด็กจำยากและเบื่อหน่ายในการเรียนถ้าเป็นเนื้อเพลงยาวๆ ควรเป็นเนื้อร้องที่ผู้เลี้ยงดูเด็กร้องให้เด็กฟังแล้วเข้าใจความหมายในเนื้อเพลงก็พอ เนื้อเพลงควรเกี่ยวกับความรู้สำหรับเด็กและมีการสอดแทรกคุณธรรม 3. มีทำนองและระดับเสียงไม่สูงหรือต่ำเกินไป เพราะเด็กส่วนมากไม่สามารถทำเสียงต่ำมาก ๆ ได้ เพราะเสียงจะหายไปในลำคอ ยากแก่การร้อง ถ้าเสียงสูงมาก ๆ เด็กก็ไม่สามารถร้องได้ เด็กชอบร้องเพลงที่มีทำนองไม่ช้าหรือเร็วมากเกินไป 4. สามารถแสดงท่าทางประกอบได้ง่าย เพราะการสอนเพลงให้เด็กไม่ได้มุ่งแต่จะให้ร้องเพลงได้อย่างเดียว แต่ควรมีการเคาะจังหวะและแสดงท่าทางประกอบด้วย
ข้อเสนอแนะในการสอนเพลง 1. เลือกเนื้อเพลงง่าย ๆ มีเนื้อร้องสั้น ๆ 2. ก่อนสอนเพลงผู้เลี้ยงดูเด็กควรนำภาพ หรือของจริงที่เกี่ยวกับ เนื้อเพลงมาให้ดู 3. ผู้เลี้ยงดูเด็กร้องเพลงให้เด็กฟัง 4. สอนให้เด็กว่าตามเนื้อเพลงทีละวรรค5. ให้เด็กร้องพร้อมผู้เลี้ยงดูเด็ก 1-2 เที่ยว 6. ให้เด็กร้องเพลงพร้อมกัน 7. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งร้องเพลง อีกกลุ่มทำจังหวะด้วย
การตบมือหรือกำจังหวะด้วยเครื่องเคาะจังหวะ 8. หมุนเวียนให้เด็กสลับสับเปลี่ยนกันร้องรำจนครบทุกคน และเปิดโอกาสให้เด็กคิดท่าทาง ตามความคิดจินตนาการของเด็กเอง 9. ให้โอกาสเด็กได้ร้องเดี่ยวหรือแสดงเดี่ยวบ้าง
การเตรียมเด็กให้สงบ หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าการเก็บเด็กนั้น หมายถึง การทำให้เด็กมีสมาธิ การทำให้เด็กสงบ ลง เพื่อให้เกิดการรับรู้เรื่องราวต่างๆ โดยการดึงความสนใจหรือหันเหความสนใจของเด็กใน ขณะที่กำลังคุยหรือเล่นกันอย่าง ไม่มีระเบียบมาสู่กิจกรรมที่ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องการ โดยใช้ก่อน เริ่มกิจกรรมละระหว่างดำเนินกิจกรรม ซึ่งนอกจากจะดึงความสนใจของเด็กกลับมามีสมาธิ แล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถและยังทำให้เด็กสนุกสนานอีกด้วย
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ 2. เพื่อให้เด็กมีสมาธิที่จะเริ่มกิจกรรมใหม่ต่อไป 3. เพื่อให้เด็กผ่อนคลายความตึงเครียด เกิดความสนุกสนาน
การจัดกิจกรรมเตรียมเด็กให้สงบ ในการจัดกิจกรรมเตรียมเด็กให้สงบ อาจจัดกิจกรรมได้หลากหลายวิธีที่เป็นการเร้าความสนใจ ของเด็กก่อนที่จะให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในที่นี้ขอเสนอวิธีการต่างๆ ไว้เป็นแนวทาง 1. การใช้ลักษณะท่าทางการใช้วิธีการนี้ในครั้งแรกๆ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะใช้การตบมือประกอบด้วยเพื่อเรียกความสนใจจาก เสียงตบมือ เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กตบมือเป็นจังหวะพร้อมกับนับตามเบาๆ ผู้เลี้ยงดูเด็ก อาจทำซ้ำ ไปเรื่อยๆ จนกว่าเด็กจะสงบ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะใช้การตบมือประกอบการแตะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แตะศีรษะเบาๆ 3 ครั้ง พร้อมกับนับ 1-2-3 เบาๆ หรืออาจจะเปลี่ยนเป็น อวัยวะส่วนอื่นๆ เช่น แตะบ่า แตะหัวเข่า นอกจากนี้อาจจะเปลี่ยนจากการตบมือเป็นตบนิ้ว ทีละนิ้ว จนครบ 5 นิ้ว แล้วจึงตบมือให้เกิดเสียงดังแล้วค่อยเบาลง ๆ เรื่อย ๆ
2. การใช้เพลง ในการเตรียมเด็กให้สงบ ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะใช้เพลงประกอบเพื่อให้เด็กหันเหความสนใจมาสนใจฟังเสียงเพลง ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กร้อง เพลงที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาร้องควรมีทำนองที่สนุก เหมาะสมกับวัย หรืออาจเป็นเพลงที่ทำท่าทางประกอบได้ เช่น
เพลงยืนตรง (สุกรี ไกรเลิศ)
สองมือเราชูตรง ต่อไปจึงย้ายมาข้างหน้า

แล้วเอาลงมาแสมอกับบ่า แล้วอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
เพลงเข้าแถว (ไม่ทราบผู้แต่ง)
เข้าแถว เข้าแถวอย่ามัวรอช้าระวังจะเดินชนกัน

อย่าล้ำแนวยืนเรียงกันเดี๋ยวเวลาจะไม่ทันเข้าแถวพลันว่องไว
เพลงอย่าทำเสียงดัง (ไม่ทราบผู้แต่ง)
จุ๊ จุ๊ อย่าทำเสียงดังพวกเด็ก ๆ ต้องเกรงใจผู้เลี้ยงดู

ควรระวังผู้อื่นหนวกหูคุณหนู ๆ อย่าทำเสียงดัง
3. การใช้คำคล้องจอง บางครั้งผู้เลี้ยงดูเด็กก็สามารถใช้คำคล้องจองในการเตรียมเด็กให้สงบก็ได้ ซึ่งคำคล้องจองที่นำมาใช้ควรจะให้ความสนุกสนาน และอาจจะทำท่าทางประกอบได้ เช่น
คำคล้องจอง “หลับตาเสีย” (อ.ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
หลับตาเสียนอนหลับแล้วมาร่ายมารำพอตื่นขึ้นมา

อ่อนเพลียทั้งวัน ฝันเห็นเทวดาคมขำโสภาเทวดาไม่มี
คำคล้องจอง “ของเล่น” (อ.ทรงพร สุทธิธรรม)
ลูกบอล รถลาก ตุ๊กตาเล่นแล้วสนุก เพลิดเพลินใจกาย

เด็ก ๆ ได้มา ดีใจเหลือหลายหนู ๆ จงทาย เรียกอะไรเอ่ย
คำคล้องจอง “ของใช้” (อ.ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
ฉันมีชามข้าวใบใหม่ถ้วยแก้วก็มีแล้วนั่งเก้าอี้

ช้อนส้อมใหม่ใหมตั้งไว้บนโต๊ะตัวนี้กินข้าวได้เลย
การประเมินผล ผู้เลี้ยงดูเด็กสังเกตว่าเมื่อทำกิจกรรมเตรียมเด็กให้สงบแล้ว เด็กหันเหความสนใจมาร่วมกิจกรรมและร่วมปฏิบัติกิจกรรม
กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่การศึกษานอกสถานที่เป็นกระบวนการเรียนการสอนวิธีหนึ่งที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (วัยอนุบาล) และการที่เด็กมีโอกาสได้สังเกตสำรวจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างมีความหมายสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและชีวิตในอนาคตของเด็กต่อไป รูปภาพ ความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ตรง ตลอดจนส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติ สังเกต สำรวจ แก้ปัญหา พัฒนาการคิดของเด็กเป็นการขยายประสบการณ์ให้กับเด็กนอกเหนือจากประสบการณ์ที่ได้รับในห้องเรียน จุดประสงค์ของการศึกษานอกสถานที่ นักศึกษาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการศึกษานอกสถานที่ไว้หลายท่าน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้ 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกต สำรวจสิ่งต่าง ๆ 2. เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง 3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีโลกทัศน์ที่กว้าง มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น 4. เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง แท้จริง ชัดเจนยิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สถานที่ บุคคล ตลอดจนอาชีพของบุคคลต่าง ๆ 6. เพื่อพัฒนาความรู้สึกทางด้านสุนทรียภาพ รู้จักชื่นชม เห็นคุณค่าของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว 7. เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8. เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การทดลอง 9. เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการแก้ปัญหาจากการศึกษานอกสถานที่ 10. เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักการปฏิบัติกิจกรรมทำงานร่วมกับผู้อื่น 11. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็ก เพื่อน และผู้เลี้ยงดูเด็ก 12. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน 13. เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความกระตือรือร้น สนใจ อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจสิ่งต่าง ๆ14. เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น ชื่นชมในความสามารถของตนเองและผู้อื่นประเภทของการศึกษานอกสถานที่ การศึกษานอกสถานที่เป็นวิธีการจัดประสบการณ์วิธีหนึ่งซึ่งจัดให้กับเด็กนอกเหนือจากที่จัดในห้องเรียน ดังนั้น หากแบ่งประเภทของการศึกษานอกสถานที่ตามสถานที่ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์และ กิจกรรมแล้ว สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ 1. บริเวณอาคารและรอบอาคารเรียน ได้แก่ ห้องต่าง ๆ หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณอาคารและรอบอาคารเรียน โดยการให้เด็กได้สังเกต สำรวจห้องต่าง ๆ ได้พบปะสนทนากับบุคคลที่อยู่ในห้องเหล่านั้น 2. บริเวณสนามของโรงเรียนได้แก่ สนามของโรงเรียน สถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียน เช่น บริเวณที่ปลูกต้นไม้ที่เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้สังเกต สำรวจ ทดลอง เช่น สังเกตรูปร่างของปลา การวัดขนาดของใบไม้ การฟังเสียงต่าง ๆ ที่อยู่รอบบริเวณ การไปดูที่อยู่ของนก เป็นต้น3. บริเวณชุมชนที่อยู่ใกล้โรงเรียน ได้แก่ สถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชนซึ่งเด็กสามารถเดินไปได้ เช่นตลาด วัด สถานีอนามัย ที่ทำการไปรษณีย์ เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้รู้จักชุมชนของเด็กมากขึ้น รู้จัก เข้าใจอาชีพของบุคคลที่อยู่ในชุมชน ตลอดจนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชน 4. บริเวณสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ไกลออกไป ต้องใช้พาหนะและใช้เวลาในการเดินทาง ได้แก่ สวนสัตว์ สวนผัก พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เนื้อหาและแนวคิดที่ได้จากการศึกษานอกสถานที่ จากการพาเด็กไปศึกษานอกสถานที่ ทำให้เด็กสามารถได้เนื้อหาและแนวคิดที่สอดคล้องกับหัวข้อ เนื้อหาและแนวคิดในหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พ.ศ. 2540 ของกรมวิชาการ ทั้ง 9 หัวข้อ ดังนี้ 1. ตัวเรา เช่น การเรียนรู้กติกาต่าง ๆ การรู้จักการรักษาความสะอาดร่างกาย การรู้จักล้างมือหลังเข้าห้องส้วม ห้องน้ำ เป็นต้น โดยการพาเด็กไปดูห้องส้วม ห้องน้ำในโรงเรียน 2. ครอบครัว เช่น บ้านคือสถานที่ที่คนในครอบครัวอยู่ บ้านมีแบบต่าง ๆ บุคคลที่อยู่ในครอบครัว เป็นต้น โดยการพาเด็กไปดูบ้านพักในโรงเรียน (ถ้ามี) หรือพาเด็กไปดูบ้านเรือนในชุมชนใกล้โรงเรียน 3. โรงเรียนของฉัน เช่น การรู้จักสถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียน การรู้จักว่าทุกคนในโรงเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น โดยพาเด็กไปสำรวจห้องหรือสถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียน 4. บุคคลต่าง ๆ เช่น การรู้จักอาชีพของบุคคลต่าง ๆ การยอมรับฟังความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น การรู้จักวิธีปฏิบัติตนต่อผู้อื่น เป็นต้น โดยการพาเด็กไปรู้จักกับบุคคลต่าง ๆ ในโรงเรียนหรือชุมชนใกล้ ๆ เช่น เด็ก แม่ครัว แม่ค้า ภารโรง เป็นต้น 5. วันสำคัญ เช่น รู้และเห็นความสำคัญของวันสำคัญของชาติ วันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญทางท้องถิ่น เป็นต้น โดยพาเด็กไปวัดหรือสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญนั้น ๆ หรือพาเด็กไปดูนิทรรศการเกี่ยวกับวันสำคัญที่โรงเรียนจัดไว้ 6. ธรรมชาติรอบตัว เช่น การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ฤดูต่าง ๆ อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัว เป็นต้น โดยการพาเด็กไปดูรอบบริเวณโรงเรียน อาจเป็นแปลงผัก กรงนก สนามหญ้า สวนดอกไม้ ต้นไม้ในบริเวณโรงเรียน เป็นต้น 7. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว การดูแลรักษาและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยพาเด็กไปดูสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในบริเวณโรงเรียนหรือในชุมชน 8. การคมนาคมและการสื่อสาร เช่น การรู้จักพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง สื่อที่ใช้ในการสื่อสาร การทราบข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เป็นต้น โดยการพาเด็กไปดูพาหนะที่อยู่ในโรงเรียน หรือพาเด็กไปดูสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและการสื่อสาร เช่น สถานีรถไฟ ที่ทำการไปรษณีย์ หรือแม้แต่ตู้โทรทัศน์ในโรงเรียน เป็นต้น 9. สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เช่นการเรียนเกี่ยวกับอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สีต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัว การนับสิ่งต่าง ๆ สิ่งที่ช่วยในการวัด เป็นต้น โดยพาเด็กไปสถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียน หรือในชุมชน เช่น ห้องครัว สวนดอกไม้ ห้องพยาบาล เป็นต้น หลักในการจัดการศึกษานอกสถานที่ การที่จะให้การศึกษานอกสถานที่บังเกิดประโยชน์สูงสุดและมีผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีหลักในการจัดการศึกษานอกสถานที่ดังนี้ 1. เปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การฟัง การดม การชิม การสัมผัส ด้วยตนเอง เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ทั้งนี้ควรคำนึงด้วยว่าสิ่งที่เด็กลงมือกระทำนั้นต้องมีความปลอดภัย 2. เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาการคิด โดยให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ แนะนำ ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กสังเกต สำรวจ คิด ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหาด้วยตนเอง ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงความกระตือรือร้นการคิด การค้นหาคำตอบ 3. มีการวางแผนการจัดการศึกษานอกสถานที่เป็นขั้นตอนชัดเจน ในบางครั้งให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการวางแผน4. กำหนดจุดประสงค์ ของการศึกษานอกสถานที่ที่แน่นอน ชัดเจน ว่าจะไปที่ใด ไปทำไม 5. ควรมีความสมดุลระหว่างการจัดกิจกรรมในห้องเรียนกับการศึกษานอกสถานที่ 6. ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล อายุ และวัยของเด็ก ดังนั้นกิจกรรมที่จัด การใช้ คำถาม วิธีการให้เด็กค้นหาคำตอบ ควรมีความหลากหลาย เด็กทุกคนมีโอกาสเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็ม ศักยภาพของเด็ก 7. ควรคำนึงถึงระยะเวลาและระยะทางที่ใช้ในการเดินทางและเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ว่าเหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็กหรือไม่ 8. ควรคำนึงความปลอดภัยและการดูแลเด็กให้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาพาเด็กออกไปนอกบริเวณโรงเรียนอาจเชิญชวนผู้ปกครองไปกับเด็กด้วย จะได้ดูแลเด็กอย่างทั่วถึง ขั้นตอนการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ การพาเด็กไปศึกษานอกสถานที่ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ มีการเตรียมการในเรื่องต่อไปนี้ 1.1 เลือกหัวข้อ/เรื่องที่จะศึกษานอกสถานที่ ที่กำหนดโดยเด็กและผู้เลี้ยงดูเด็กช่วยกันเลือก ซึ่งอาจได้มาจากการดูวีดิทัศน์ การดูรูปภาพ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เป็นต้น 1.2 กำหนดจุดประสงค์ในการไปศึกษานอกสถานที่เกี่ยวกับหัวข้อ/เรื่องที่เลือกบางจุดประสงค์เป็นสิ่งที่เด็กอยากรู้1.3 วางแผนการศึกษานอกสถานที่ โดยกำหนดวัน เวลา กิจกรรมที่จะทำ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษานอกสถานที่ ตลอดจนวางแผนเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้กับเด็ก ในบางครั้งอาจเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือเตรียมสื่ออุปกรณ์ 1.4 กำหนดสถานที่ที่จะศึกษานอกสถานที่ ซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กควรมีการสำรวจศึกษาที่ที่จะไปศึกษานอกสถานที่นั้น นอกจากนี้ในกรณีที่ต้องพาเด็กออกไปนอกบริเวณโรงเรียน จะต้องมีหนังสือขออนุญาตจากผู้จัดการศูนย์และได้รับคำยินยอมจากผู้ปกครอง รวมทั้งต้องมีหนังสือขออนุญาติเข้าเยี่ยมสถานที่ที่เป็นส่วนราชการ 1.5 เตรียมตัวศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อ/เรื่องที่จะไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กได้สังเกต สำรวจ คิด ค้นหาคำตอบมากขึ้น และเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ โดยจัดกิจกรรมให้กับเด็กดังนี้ 2.1 สนทนากับเด็กเกี่ยวกับข้อตกลง กฎกติกาในการเดินทางไปศึกษานอกสถานที่ 2.2 ให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตเปรียบเทียบ สำรวจ คิด ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหา เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ นอกห้องเรียน โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือถามคำตอบกระตุ้นให้เด็กปฎิบัติกิจกรรมและคิดหาคำตอบ 2.3 ให้เด็กได้เก็บรวบรวมข้อมูลหรือบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ค้นพบ เช่น การเก็บใบไม้ที่ร่วง การวาดภาพ การวัดความยาวของใบไม้ การพิมพ์ภาพ การปั้น เป็นต้น 2.4 บางครั้งควรสนทนาซักถามเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการเสริมประสบการณ์ ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ โดยสนทนาซักถาม อภิปราย สรุปผลเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็นจากการศึกษานอกห้องเรียน หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการเก็บรวบรวม หรือสิ่งที่ได้จากการบันทึกผล ตลอดจนการสนทนาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อตกลง การจัดกิจกรรมในขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ เป็นกิจกรรมที่จัดคนละวันกับขั้นที่ 2 ซึ่งเป็นขั้นจัด กิจกรรม และขั้นที่ 3 ขั้นสรุปกิจกรรมศึกษานอกสถานที่ สำหรับกิจกรรมขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 สามารถจัดในวันเดียววันได้ ยกเว้นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ศึกษานอกสถานที่ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องหลายวัน อาจสรุปกิจกรรมในแต่ละวัน หรือสรุปรวม 1 ครั้งก็ได้ ตามเนื้อหาจุดประสงค์ และความเหมาะสม สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการศึกษานอกสถานที่ ในการศึกษานอกสถานที่ ในบางครั้งจำเป็นต้องใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น หรือเพื่อทำให้การเดินทางไปศึกษานอกสถานที่สะดวกและมีความปลอดภัยมากขึ้น สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษานอกสถานที่ มีดังนี้ 1. สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น เช่น แว่นขยาย ไม้บรรทัด กระดาษ ถ้วยตรง กระชอน อาหารปลา แม่เหล็ก เครื่องชั่ง เทอร์โมมิเตอร์ เข็มทิศ เป็นต้น 2. สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้สำหรับบูณาการกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กขณะศึกษานอกสถานที่ เช่น จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นต้น โดยการเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ให้กับเด็ก เช่น กระดาษโรเนียว กระดาษสี สีเทียน ดินน้ำมัน ใบไม้ เปลือกไม้ ลูกบอล เปลือกหอย เกมจับคู่ภาพ เป็นต้น 3. สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้อำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ให้กับเด็กในการจัดกิจกรรมศึกษานอกสถานที่ เช่น ป้ายชื่อพร้อมที่อยู่ของเด็ก (โดยเฉพาะกรณีพาเด็กออกนอกโรงเรียน) เครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก ธงสี เครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น เป็นต้น ในกรณีที่พาเด็กออกไปนอกบริเวณโรงเรียน อาจเตรียมของว่าง น้ำดื่ม หรืออาหารกลางวันให้เด็กด้วย
กิจกรรมปริศนาคำทายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจัดให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้ฝึกเล่นกับภาษา เพราะดังที่กล่าวมาแล้วว่าเด็กชอบเล่นคำ เล่นภาษา ดังนั้นหากผู้เลี้ยงดูเด็กจัดกิจกรรมปริศนาคำทายให้กับเด็กเป็นประจำแล้วพัฒนาการทางภาษา การคิดของเด็กจะได้รับการพัฒนา ซึ่งปริศนาคำทายที่นำมาใช้กับเด็กนั้นต้องไม่ยากเกินไป หรือมีคำปริศนามากเกินไป วัตถุประสงค์ กิจกรรมปริศนาคำทายจัดขึ้นเพื่อ 1. ให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญา ด้านภาษา 2. เพื่อฝึกกระบวนการคิด แก้ปัญหา 3. เพื่อให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลินจากการเล่นปริศนาคำทาย 4. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ 5. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม การจัดกิจกรรมปริศนาคำทาย ในการจัดกิจกรรมปริศนาคำทาย ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะใช้ปริศนาคำทายจากง่าย ๆ และมีข้อความ สั้น ๆ เพื่อให้เด็กทายคำตอบแล้วค่อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้น ข้อความหรือความยากของปริศนาให้มากขึ้นทีละน้อย ผู้เลี้ยงดูเด็กควรให้เวลาเด็กในการคิดหาคำตอบ อย่าเร่งรีบให้เด็กตอบเพราะเด็กจะไม่ได้ใช้กระบวนการคิด และยังทำให้เด็กกลายเป็นคนใจร้อน ดังนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กควรเริ่มต้นง่าย ๆ จัดบรรยากาศในการจัด กิจกรรมแบบสบาย ๆ อย่าทำให้เด็กเกิดความเครียด ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะใช้ปริศนาคำทายในกิจกรรมประจำวัน หรือในกิจกรรมเสริมประสบการณ์อื่น ๆ ก็ได้ และแม้กระทั่งในการการจัดกิจกรรมการเตรียมเด็กให้สงบ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจะใช้ประกอบในการนำเข้าสู่บทเรียนหรือกิจกรรม และการสรุปบทเรียนหรือกิจกรรม ปริศนาคำทายแยกได้เป็น 2 แบบ คือ 1. ปริศนาคำทายที่เป็นข้อความ ปริศนาคำทายประเภทนี้จะใช้ข้อความเป็นคำถาม ซึ่งจะเป็นลักษณะของการใบ้คำเพื่อให้ได้คำตอบ หรืออาจจะมีคำตอบแฝงอยู่ด้วย เช่น อะไรเอ่ย มาจากเมืองเจ๊ก ตัวเล็กเสียงดัง (คำตอบ…ประทัด) 2. ปริศนาคำทายที่เป็นคำกลอนหรือคำคล้องจอง ปริศนาคำทายประเภทนี้เป็นการนำเอาบทร้อยกรอง คำกลอนหรือคำคล้องจองมาเป็นข้อคำถาม เช่น สัตว์เลี้ยงของฉันนั้น มันน่ารัก ใคร ๆ รู้จัก ฉันเรียกเจ้าเหมียว ตามันคมวาว ฟันขาวมีเขี้ยว ร้องเสียงเหมียว ๆ ทายซิตัวอะไร นอกจากนี้ยังมีการแบ่งปริศนาออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ประเภทที่มีเนื้อหาสัมพันธ์เรื่องที่สอน ทำให้เด็กเกิดความสนใจจดจำเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สอนยิ่งขึ้น เช่น สอนเรื่อง นาฬิกา อาจใช้ปริศนาคำทายดังนี้ “อะไรเอ่ย…มีเข็ม 2 อัน เดินวันยังค่ำ ช่วยบอกเวลา” 2. ประเภทเนื้อหาไม่สัมพันธ์กับวิชาใดๆ เป็นคำถามคำตอบเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เช่น ปริศนาคำทาย นกหวีด “อะไรเอ่ย…มีตัวเล็ก ๆ ไม่มีปีก แต่ร้องเสียงดัง” ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมปริศนาทำทาย1. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกและเริ่มจากปริศนาคำทายที่ง่าย ๆ ก่อนที่จะไปสู่ปริศนาคำทายที่ยากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น 2. บรรยากาศที่จัดควรเป็นบรรยากาศสบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด 3. เปิดโอกาสให้เด็กใช้เวลาในการค้นหาคำตอบด้วยตัวของเด็กเอง หากเห็นว่าใช้เวลานานเกินไป ผู้เลี้ยงดูเด็กควรใช้วิธีการกระตุ้น หรืออาจจะใบ้คำหรือทำท่าทางใบ้คำให้กับเด็กเพื่อหาคำตอบจนพบ 4. อย่าดุหรือว่าเด็กทุกคนได้พยายามคิดและตอบคำถาม อย่าให้เด็กเก่งเพียงคนเดียวหรือ 2 คนตอบ ควรจะให้เด็กอื่น ๆ ได้ร่วมคิดและตอบด้วย 5. พยายามให้เด็กทุกคนได้พยายามคิดและคอบคำถาม อย่าให้เด็กเก่งเพียงคนเดียวหรือ 2 คนตอบ ควรจะให้เด็กอื่น ๆ ได้ร่วมคิดและตอบด้วย
การประเมินผล ในการประเมินผลการจัดกิจกรรมปริศนาคำทายผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรประเมิน โดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็กว่าเด็กเข้าร่วม กิจกรรมหรือไม่ เด็กได้พยายามคิดหาคำตอบ และพยายามมี ส่วนร่วมในกิจกรรมหรือไม่
ตัวอย่างของปริศนาคำทาย ปริศนาคำทายเกี่ยวกับบุคคล 1. ใครเอ่ย ป้องกันประเทศ คอยแก้สาเหตุจากศัตรู…(ทหาร) 2. ใครเอ่ย คอยช่วยดับไฟ ยามลุกเผาไหม้ ปลอดภัยทันเวลา… (พนักงานดับเพลิง) 3. ใครเอ่ย พอเปิดแล้วใส่ ได้แล้วให้พร… (พระบิณฑบาต) 4. อะไรเอ่ย ไม่ใกล้ไม่ไกล มองเห็นรำไร ตรงหน้านี้เอง… (จมูก) ปริศนาคำทายเกี่ยวกับสัตว์ 1. นกอะไรเอ่ย หน้าตาเหมือนแมว แต่ไม่ใช่แมว…(นกเค้าแมว) 2. อะไรเอ่ย ยุ่งเหมือนใยบัว มีตัวตรงกลาง… (แมงมุม) 3. อะไรเอ่ย เช้าตื่นขึ้นขัน คำสั่งจับคอน มีหาง มีหงอน เช้าร้องปลุกคน…(ไก่) 4. อะไรเอ่ย มีเขางดงาม ชอบอยู่ตามป่า ตาวาวหนักหนา ระวังศัตรู… (กวาง) 5. อะไรเอ่ย ปีกสวย 2 คู่ บินอยู่ทั่วไป เกาะตามต้นไม้ ดูดน้ำหวานกิน ….ผึ้ง 6. อะไรเอ่ย ตัวยาวเป็นหนอน ม้วนตัวกลัวภัย ผิวแข็งสดใส ขามีนับร้อย…(กิ้งกือ) 7. อะไรเอ่ย มันอยู่ที่ไหน วางไข่ที่นั่น ใครมีแล้วคัน ชอบยู่หัวเรา…..(เหา) 8. อะไรเอ่ย อยู่เล้ามีไข่ ลอยไปเหนือน้ำ มีหัวหน้านำ ทำเสียงก๊าบก๊าบ …(เป็ด) 9. อะไรเอ่ย เนื้อเป็นอาหาร สงสารถูกขัง กินจุ อ้วนจัง อยู่แต่ในเล้า….. (หมู) 10. อะไรเอ่ย ชื่อน่ากลัว ตัวน่ารัก … (ผีเสื้อ) ปริศนาคำทายเกี่ยวกับสิ่งของ 1. อะไรเอ่ย สี่เหลี่ยมมุมปรับ รับภาพได้สวย… (โทรทัศน์) 2. อะไรเอ่ย เป็นสถานที่ มีคนมากมาย เด็ก ๆ ทั้งหลายได้ไปเล่าเรียน.. (โรงเรียน) 3. อะไรเอ่ย สี่เหลี่ยมผืนผ้า ห้าริ้วเรียงกัน แดงขาวขนาบข้าง มีสีน้ำเงินอยู่กลาง… (ธงชาติ) 4. อะไรเอ่ย ดำกลับว่าสะอาด ขาวและสีกลับว่าสกปรก.. (กระดานดำ) 5. อะไรเอ่ย ไม่มีขน แต่บินได้… (เครื่องบิน) 6. อะไรเอ่ย ยิ่งตัดยิ่งยาว… (ถนน) 7. อะไรเอ่ย เป็นแม่เฝ้าบ้าน น่าสงสารจริง ส่วนลูกชอบเที่ยว ตัดติดไปกับคน… (ลูกกุญแจ) 8. อะไรเอ่ย มีตั้งหลายหน้า เล่มหนาเล่มบาง บ้างก็เป็นนิทาน อ่านแล้วสนุกดี … (หนังสือ) 9. อะไรเอ่ย ตะลุบตุ๊บป่อง ลอยล่องในธารา ใครไปใครมา ใช้กันทั้งวัน… (เรือ) 10. อะไรเอ่ย หุบเท่ากระบอก กางออกหับฝน… (ร่ม) ปริศนาคำทายเกี่ยวกับพืชธรรมชาติ 1. อะไรเอ่ย เช้าโผล่ เย็นผลุบ… (ดวงอาทิตย์) 2. อะไรเอ่ย โตเท่าภูเขา แต่เบานิดเดียว… (เมฆ) 3. อะไรเอ่ย ต้นเท่าขา ใบวาเดียว… (กล้วย) 4. อะไรเอ่ย มีตารอบตัว มีหัวหัวเดียว… (สับปะรด) 5. ฉันเป็นดอกไม้ นำไหว้พระทุกวัน ขึ้นอยู่ตามสระมีตูมมีบาน … (ดอกบัว)6. ฉันคือใคร อยู่ในท้องฟ้า ส่งแสงนวลจ้า เวลาค่ำคืน… (ดวงจันทร์) 7. อะไรเอ่ย หยดลงจากฟ้า ล่องหนลงมา ทายซิว่าอะไร… (ฝน) 8. น้ำอะไรเอ่ย ไม่เคยขึ้น … (น้ำตก)
ความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จำเป็นต้องจัดให้เด็กได้มีโอกาสฝึกฝนกันทุกคน ในการจัดควรจัดให้เหมาะสมกับธรรมชาติและความสามารถในการเรียนรู้ตามวุฒิภาวะของเด็กเป็นสำคัญ กิจกรรมปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์ ควรจัดให้เด็กได้ฝึกการสังเกต การจำแนกประเภท การสื่อความหมาย ซึ่งมีกระบวนการพื้นฐาน คือ การสังเกต การวัดการจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา การจัดทำข้อมูลและการสื่อความหมายลงความคิดเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน และการทดลอง วัตถุประสงค์ กิจกรรมการปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์จัดขึ้นเพื่อ 1. ให้เด็กได้รับกระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 2. ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ เช่นสังเกต การจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา เป็นต้น3. ให้เด็กได้ลงมือกระทำ ทดลองสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง 4. ให้เด็กได้ฝึกประสามสัมผัสทั้งห้า 5. ให้เด็กได้รับความสนุกสนานโดยผ่านการปฏิบัติการทดลอง การจัดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างซักช่างถาม ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความสนใจไม่เหมือนกัน อัตราพัฒนาการไม่เท่ากัน ดังนั้นการจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมปฏิบัติการทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก จึงต้องจัดให้แตกต่างกัน โดยจัดกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แตกต่างกันของเด็ก และเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ประสบกับความสำเร็จอีกด้วย ซึ่งในการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทที่ 1 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบเป็นทางการ คือ การจัดประสบการณ์ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้กำหนดหัวเรื่องให้เด็ก พร้อมทั้งเป็นผู้เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะใช้ก่อนลงมือทำกิจกรรม ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะอธิบายวิธีการทำงานสั้น ๆ ก่อน แล้วจึงให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยวิธีการของตนเอง ขณะเด็กทำกิจกรรม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเดินดูและสังเกตอย่างใกล้ชิด หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กควรร่วมอภิปรายร่วมกับเด็ก ประเภทที่ 2 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบไม่เป็นทางการ คือ การสร้างเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้เด็กเลือกทำกิจกรรมโดยเสรีด้วยวิธีการของตนเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นเพียงผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้และคอยกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจที่จะศึกษาทดลองในเรื่องต่าง ๆ ประเภทที่ 3 การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ การนำหรือเลือกเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเด็กและเกี่ยวข้องกับเด็กมาจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ข้อควรคำนึงในการปฏิบัติกิจกรรม โดยผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะสร้างข้อตกลง หลักเกณฑ์ พร้อมทั้งชึ้แจงในขั้นตอนการทำกิจกรรมและข้อควรระวังในการใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม และในระหว่างทำกิจกรรมผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ใช้คำถามและคำพูดกระตุ้นให้เด็กสนใจ อยากรู้ในสิ่งที่กำลังทำอยู่ รวมทั้งการเลือกและใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก รูปภาพ เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนเจตคติเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต สมมุติว่าเด็กกำลังสนใจตัวหนอน แล้วเด็กเดินมาบอกผู้เลี้ยงดูเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรไปคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิงสกปรก แต่ผู้ดูเด็กควรจะแนะนำหรือฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่ เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะพูดให้เด็กสังเกตว่าตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร ตัวหนอนโตขึ้นแล้วมันจะค่อย ๆ กลายเป็นผีเสื้อ คือ เป็นสัตว์ที่เมื่อโตแล้วจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปเลย หรือให้เด็กสังเกตลูกอ๊อดซึ่งโตขึ้นกลายเป็นกบ เป็นต้น 2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องให้ความมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กุกคนไม่ใช่สำหรับเด็กบางคนเท่านั้น หรือไม่ควรไปบอกกับเด็กว่าหนูไม่เหมาะกับวิทยาศาสตร์ หนูเรียนไม่ได้ เพราะจะไปตอกย้ำให้เด็กรู้สึกเช่นนั้น หรือต้องไม่บอกเด็กว่าโตขึ้นหนูควรจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นหมอ เพราะเด็กยังมีเวลาอีกมากในการตัดสินใจ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ต้องไปตัดสินใจให้เด็ก แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กมีหน้าที่จะต้องให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเด็กทีเรียนเร็วหรือช้า ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น สนุก 3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะผู้ปกครองเองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดเรียนรู้วิทาศาสตร์ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรสรุปว่าผู้ปกครองทุกคนรู้และแนะนำเด็กได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องคอยแนะนำผู้ปกครองด้วย เช่นบอกว่ากิจกรรมที่เด็ก ๆ ทำอยู่นั้นเป็นการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องอะไร ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจแนะนำผู้ปกครองโดยวิธีการออกจดหมายและชี้แจงว่า ผู้ปกครองอาจจะมีาวนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมเรื่องนี้ได้โดยวิธีใดบ้าง4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้เด็กรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก อย่าทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก เช่น ขณะสอนเรื่องส่วนต่าง ๆ ของพืชผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรบอกว่าต้นไม้ดูดน้ำจากรากไปเก็บไว้ที่ใบ เพราะนั่นหมายถึงผู้เลี้ยงดูเด็กได้บอกเด็กไปหมดแล้ว เด็กจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าสนใจอีกแล้ว ดังนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะเป็นฝ่ายถามเด็กมากกว่า เช่น ถามว่าต้นไม้โตได้อย่างไร จากนั่นค่อย ๆ แนะนำเด็กไปเรื่อย ๆ โดยฝึกให้เด็กรู้จักสังเกตและคิด เช่น ต้นไม้ก็เป็นสิ่งที่มีชีวิต มันต้องการอะไรบ้าง เด็กจะเริ่มคิดแล้วว่าต้นไม้ต้องการอะไรบ้าง หรือให้เด็กลองกับของจริง เช่น ทำการทดลองเพาะหรือปลูกต้นไม้โดยให้ต้นไม้กระถางหนึ่งถูกแสงแดด อีกกระถางหนึ่งไม่ถูกแสงแดดรดน้ำ ไม่รดน้ำ แล้วให้เด็กหัดสังเกตและเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้น หรือหากต้องการสอนในหัวข้อ “รากสามารถดูดน้ำได้” เด็กอาจไม่เข้าใจว่ารากดูดน้ำได้อย่างไร ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องแสดงให้เด็กเห็นว่ามันดูดน้ำได้อย่างไร โดยนำกิจกรรมการทดลองมาใช้ เช่น ใช้ผักคึ่นช่าย ผักกระสัง ต้นกุยช่าย เอามาเพียงก้านเดียว แล้วผ่าก้าน โดยแบ่งให้มีใบทั้ง 2 ซีกด้วย จากนั้นให้นำแก้วน้ำ 2 ใบ ใส่น้ำสีต่าง กัน แล้วนำก้านที่เราผ่าแล้วใส่ในแต่ละแก้ว ภายในไม่กี่ชั่วโมง ให้เด็ก ๆ กลับมาสังเกตว่าน้ำสีจะถูกดูดเข้าไปในก้านหรือไม่ การทำการทดลองอย่างนี้ จะทำให้เด็ก ๆ ตื่นเต้นและสนใจอยากจะเรียน5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นคนมีความสามรถและหัดให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น ให้สังเกตว่าทำไมไม้ถึงลอยน้ำได้ ทำไมเกลือจึงละลายน้ำ เด็กจะรู้สึกอยากค้นพบ อยากหาเหตุผล เป็นต้น บทบาทของผู้เลี้ยงดูเด็กอนุบาลในฐานะผู้เลี้ยงดูเด็กวิทยาศาสตร์ 1. หาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่เด็กมี ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องรู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้เบื้องต้นแค่ไหน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน 2. จัดเตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเลือกสรรกิจกรรมที่เหมาะสม ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กไม่เป็นกิจกรรมที่ต้องระวังมาก และให้เด็กสามารถทำกิจกรรมเต็มที่ เช่น ไม่ใช่คอยบอกเด็กว่าหนูอย่ามาจับเดี๋ยวของแตก3. จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน (จัดมุมหรือศูนย์วิทยาศาสตร์) โดยการคำนึงว่าจัดอย่างไรให้เด็กอยากเข้าไปเล่น ในมุมนั้น ๆ การที่เด็กเข้าไปเล่นคลุกคลีอยู่ในแต่ละมุมบ่อย ๆ ผู้เลี้ยงดูเด็กก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงส่อต่าง ๆ ในมุมด้วย 4. ควรมีการแนะนำวัสดุอุปรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กสนใจหรืออยากเข้ามาจับต้อง โดยอาจใช้วิธีการ เช่น การนำเสนอ สาธิตชักชวนให้เด็กลงมือปฏิบัติ ถามคำถาม การใช้คำถามสำหรับเด็กควรเปลี่ยนรูปแบบบ่อย ๆ ให้เด็กสังเกตเด็กรู้สึกอยากมาจับต้อง และผู้เลี้ยงดูเด็กควรสังเกตด้วยว่าเด็กกำลังทำอะไร ผู้เลี้ยงดูเด็กควรหาจังหวะเข้าไปหาเด็กให้ถูกเวลา เช่น ถามเด็กว่า “เห็นหนูใส่สิ่งนี้ลงไป เห็นอะไรเกิดขึ้นค่ะ” เราต้องถามให้เด็กรู้จักคิด รู้จักหาคำตอบ 5. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรส่งเสริมด้านการสำรวจค้นคว้าของเด็ก เพื่อนำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ 5.1 สังเกตว่าพวกเขากำลังคิดดะไรอยู่ 5.2 กระตุ้นให้คิด ให้ทดลอง ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด “อะไรจะเกิดขึ้นถ้าวางลูกปัดบนพรม” “ลองเป่าดูซิ” 5.3 สนับสนุนสิ่งที่เด็กจะค้นคว้า ทดลอง5.4 สร้างจินตนาการ ว่าทุกสิ่งมีชีวิตจิตใจ และมนุษย์ทำได้ แล่นบทบาทสมมติว่าตนเองเป็นนกกำลังเดินทางไปในยานอวกาศ5.5 แลกเปลี่ยนทัศนะ 6. สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้อื่น ๆ 7. การสรุปความ โดยยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ๆ ฝึกให้เด็กเก็บบันทึกข้อทูลการสอนวิทยาศาสตร์ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องเตรียมอะไรบ้าง 1. ประเมินพื้นฐานของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะรู้พื้นฐานของเด็ก (รู้ว่าเด็กรู้แค่ไหน) สังเกตจากการสอบถาม เช่น สมมติว่าเราจะสอบเรื่องน้ำ เด็กยังไม่รู้ว่าน้ำระเหยได้ (ระเหยแปลว่าอะไร) ถ้าเด็กยังไม่รู้ระเหยคืออะไร เราควรให้เขารู้ก่อน 2. เลือกกำหนดวัตถุประสงค์ ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องต้องมีวัตถุประสงค์ว่าจะสอนให้เด็กเรียนอะไร วัตถุประสงค์ไม่จำเป็นต้องมีหลายอย่าง มีเพียงข้อเดียวก็พอ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะให้เด็กเรียนอย่างเดียว ถึงแม้จะตั้งวัตถุประสงค์ไว้อย่างเดียว แต่เด็กก็อาจเรียนรู้ได้หลายอย่างระหว่างดำเนินกิจกรรมนั้นอยู่ อาจเกิดจากการสังเกตของเด็กเอง หรือจากกการปฏิบัติ เช่น น้ำ สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นอย่างนั้นได้ เวลาต้มน้ำ น้ำจะระเหยได้ เวลาเอาน้ำแช่ตู้เย็นในช่องแช่แข็ง น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง 3. วางแผนจัดประสบการณ์ วางแผนว่าเด็กควรทำอะไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น เรียนรู้ว่าอากาศมีน้ำหนัก ต้องการให้เด็กรู้ว่ารากสามารถดูดน้ำจากดินได้ เหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์เราจะจัดกิจกรรมอะไรให้สอดคล้องเข้ากันได้ 4. เลือกวัสดุอุปกรณ์ ต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ให้พร้อม เพื่อให้การสอนเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 5. การสอน สอนตามแผนที่วางไว้และพร้อมที่จะปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความสนใจของเด็ก 6. การประเมิน ประเมินว่าเด็กได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ตัวอย่างกิจกรรมการสอยวิทยาศาสตร์ อากาศ การทำฟองสบู่ ความคิดรวบยอด อากาศต้องการที่อยู่ ลูกโป่งฟองสบู่มีอากาศอยู่ข้างในวัตถุประสงค์ เด็กทำลูกโป่งฟองสบู่จากอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้ อุปกรณ์ สบู่เหลว หรือน้ำยาซักผ้า 8 ช้อนโต๊ะ น้ำ 1 ขวด หลอดดูด ถ้วย และสีผสมอาหาร การใช้คำถามของผู้เลี้ยงดูเด็ก - เด็กเป่าลูกโป่งฟองสบู่ได้กี่ลูก - ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร - เล่าเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ที่เด็ก ๆ เป่าให้ฟังหน่อย - เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่งฟองสบู่ - ลูกโป่งฟองสบู่แตกอย่างไร- เด็ก ๆ ทำให้ลูกโป่งอยู่นาน ๆ ได้อย่างไร - เด็ก ๆ คิดว่าอะไรอยู่ในลูกโป่งฟองสบู่ - เด็ก ๆ บอกได้ไหม เด็ก ๆ เป่าอะไรลงไปในฟองสบู่ - เด็กคิดถึงสิ่งอื่นที่เป่าอากาศเข้าไปแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้น ประสบการณ์เสริม1. ให้เด็กเล่าเรื่องเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ที่เป่าแล้วเขียนลงบนกระดาษขนาดใหญ่ 2. ส่งเสริมให้เด็กทำหนังสือเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่โดยใช้การวาดภาพ 3. ส่งเสริมให้เด็กเขียนเกี่ยวกับภาพวาดของตน 4. จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ แล้วให้เด็กเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมความคิดรวบยอด 5. ทำลูกโป่งให้มีรูปร่างต่าง ๆ กันควรสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร1. เวลาสอน ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้แนะนำ เป็นผู้อำนวยความสะอวก แต่ไม่ใช่ผู้บอก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเป็นผู้คอยกระตุ้นให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 2. ไม่ควรเคร่งเครียดกับการเรียนมากเกินไป เช่น ไม่ควรให้เด็กรู้สึกว่าเรียนแล้วห้ามหัวเราะ ห้ามขยับ เดี๋ยวจะไม่ถึงเป้าหมายในการเรียน แต่ควรจะยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็น 3. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก 4. ให้ยืดหยุ่นได้ อย่ายัดเยียดความรู้สึกกับเด็ก ควรให้ทีละอย่าง 5. จัดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ใช้ประสาทสัมผัส เช่น ให้ชิมน้ำมะนาว เด็กจะได้รู้ว่ารสเปรี้ยวเป็นอย่างไร6. อย่ารีบบอกคำตอบแก่เด็กทันที 7. กิจกรรมบางอย่างสามารถจัดซ้ำ ๆ ได้ ยังเป็นที่สนใจของเด็ก 8. ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กเกิดคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ เช่น เป็นคนมีเหตุผล รู้จักคิด สังเกต รวมทั้งให้เด็กรู้จักนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่าง ๆ สิ่งสำคัญในการสอนวิทยาศาสตร์ ให้ลองจับ ให้ถาม ให้ตรวจตรา สัมผัส ผู้เลี้ยงดูเด็กรู้จักเอาคำถามของเด็กมาใช้ถามเด็กอีกที ให้เด็กคิดและสังเกตมากขึ้น ให้เด็กมีโอกาสทดลองความคิดของเขา เช่น มีสิ่งของต่างชนิดกับ อะไรจะตกถึงพื้นก่อนกัน (รู้จักทายอย่างมีเหตุผล) ลักษณะกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม1. สอนเรื่องการสังเกตโดยการเปรียบเทียบ- ให้เด็กรู้จักเปรียบเทียบ 2. สอนเรื่องรูปทรง - ให้เด็กสังเกตสิงรอบข้าง เช่น ลงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ตัวอย่างเช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กทำกล่องขึ้นมา 1 กล่อง แล้วเจาะช่องให้เด็กล้วงลงไปจับสิ่งของที่อยู่ภายในแล้วให้เด็กยอกความรู้สึกของสิ่งของที่สัมผัสว่ามีรูปทรงเป็นอย่างไร มีผิวเรียบหรือหยาบ 3. สอนเรื่องพื้นที่ - ในศูนย์หรือมุมอื่น เด็กก็สามารถเรียนวิทยาศาสตร์ได้ วิทยาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในศูนย์ที่เราจัดไว้ โดยเฉพาะเท่านั้น เช่น เมื่อเด็กเล่นในมุมบล็อก เด็กจะได้ทักษะว่าทำอย่างไรจึงจะสมดุลได้ เราจะต้องเสริมอย่างไรให้บล็อกไม้ล้มเราอาจจัดกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เรื่องอากาศโดยใช้ลูกโป่ง เช่น นำลูกโป่งมาเป่าลมแล้วให้เด็กสังเกตขนาดของลูกโป่งที่ขยายขึ้นและเมื่อปล่อยอากาศออก ลูกโป่งจะแฟบเหมือนเดิม (เป็นการสอนความคิดรวบยอดว่าอากาศต้องการที่อยู่)ฅ4. สอนเรื่องเกี่ยวกับจำนวนทั้งหมด อัตราส่วน - เช่น สมมติว่าผู้เลี้ยงดูเด็กมีแอปเปิ้ล 2 ผล แบ่งให้เด็ก 4 คน ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องแบ่งอย่างไร เด็กจะเรียนรู้ว่านี่คือครึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด (เด็กจะได้ความคิดรวบยอดว่าครึ่งหมายถึงอะไร)5. สอนเรื่องเรียงตามลำดับ - โดยการสมมติเหตุการณ์ว่าฝนตกจะมีอะไรเกิดขึ้นก่อนหลังบ้าง 1. มีก้อนเมฆสีดำ 2. ฝนตก เป็นการสอนให้เด็กรู้จักลำดับเหตุการณ์ หรือการนำลูกปัดสีต่าง ๆ มาร้อยเป็นสร้อยคอ เช่น ขาว-เขียว ขาว-เขียว เรียกว่า เป็นแบบเด็กจะสามารถเรียนรู้ว่าการจัดแบบเป็นอย่างไร 6. สอนเรื่องการวัดน้ำหนัก ส่วนสูง - อาจใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัดก็ได้ เป็นการฝึกให้เด็กวัด โดยแจกไม้บรรทัดหรือสายวัดแล้วให้เด็กไปวัดแล้วจดกลับมา ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถบอกให้เด็กกะเอา เช่น วัดว่าโต๊ะนี้ยาว 4 ไม้บรรทัด เป็นต้น 7. สอนให้ดูภาพแผนภูมิสถิติ- กราฟไม่ใช้เรื่องที่จะเรียนได้เฉพาะเด็กโตเท่านั้น เด็กเล็ก ๆ ก็สามารถรู้จักแผนภูมิสถิติได้โดยการสอนเปรียบเทียบ เช่น เป็นแผนภูมิรูปภาพ ให้เห็นว่าอันไหนมากน้อยกว่ากัน 8. สอนเรื่องเครื่องหมาย ตัวเลข - ให้เด็กสามารถอ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เป็น ผู้เลี้ยงดูเด็กมีวิธีประเมินการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร 1. การสังเกตของผู้เลี้ยงดูเด็ก 2. ซักถามเด็ก อย่าให้เหมือนการสอบสวน เด็กจะรู้สึกเครียด ซึ่งเป็นการวัดผลที่ไม่ดี ควรเป็นไปในลักษณะการพูดคุยกับเด็กมากกว่า 3. จากการวัดผลของตัวเด็กเอง เด็กอาจสรุปบอกเล่าจากความเข้าใจของเขาเอง การสอนไม่ว่าจะสอนวิชาอะไร กิจกรรมอย่างเดียวกันสามารถสอนได้หลาย ๆ อย่าง เช่น สอนได้ทั้งด้านภาษา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรสอนแยกรายวิชาและถึงแม้ว่ากิจกรรมบางอย่างเห็นชัดเจนว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองกับลูกโป่ง เมื่อเป่าลูกโป่ง แล้วปล่อยลมลูกโป่งจะเคลื่อนที่ เด็กอาจจะได้ในเรื่องรูปทรง จำนวนนับ สี ภาษา ทิศทาง เป็นต้น แต่ขณะเดียวกัน เด็กก็ได้พัฒนาการทางด้านอารมณ์สนุกสนานตื่นเต้นไปพร้อมกันด้วย ตัวอย่างกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์หลัก ๆ
บทบาทของผู้เลี้ยงดูเด็กอนุบาลในฐานะผู้เลี้ยงดูเด็กวิทยาศาสตร์ 1. หาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่เด็กมี ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องรู้ว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้เบื้องต้นแค่ไหน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน 2. จัดเตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเลือกสรรกิจกรรมที่เหมาะสม ในการทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กไม่เป็นกิจกรรมที่ต้องระวังมาก และให้เด็กสามารถทำกิจกรรมเต็มที่ เช่น ไม่ใช่คอยบอกเด็กว่าหนูอย่ามาจับเดี๋ยวของแตก3. จัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน (จัดมุมหรือศูนย์วิทยาศาสตร์) โดยการคำนึงว่าจัดอย่างไรให้เด็กอยากเข้าไปเล่น ในมุมนั้น ๆ การที่เด็กเข้าไปเล่นคลุกคลีอยู่ในแต่ละมุมบ่อย ๆ ผู้เลี้ยงดูเด็กก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงส่อต่าง ๆ ในมุมด้วย
4. ควรมีการแนะนำวัสดุอุปรณ์วิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กสนใจหรืออยากเข้ามาจับต้อง โดยอาจใช้วิธีการ เช่น การนำเสนอ สาธิตชักชวนให้เด็กลงมือปฏิบัติ ถามคำถาม การใช้คำถามสำหรับเด็กควรเปลี่ยนรูปแบบบ่อย ๆ ให้เด็กสังเกตเด็กรู้สึกอยากมาจับต้อง และผู้เลี้ยงดูเด็กควรสังเกตด้วยว่าเด็กกำลังทำอะไร ผู้เลี้ยงดูเด็กควรหาจังหวะเข้าไปหาเด็กให้ถูกเวลา เช่น ถามเด็กว่า “เห็นหนูใส่สิ่งนี้ลงไป เห็นอะไรเกิดขึ้นค่ะ” เราต้องถามให้เด็กรู้จักคิด รู้จักหาคำตอบ 5. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรส่งเสริมด้านการสำรวจค้นคว้าของเด็ก เพื่อนำไปสู่การค้นพบสิ่งใหม่ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ 5.1 สังเกตว่าพวกเขากำลังคิดดะไรอยู่ 5.2 กระตุ้นให้คิด ให้ทดลอง ใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด “อะไรจะเกิดขึ้นถ้าวางลูกปัดบนพรม” “ลองเป่าดูซิ” 5.3 สนับสนุนสิ่งที่เด็กจะค้นคว้า ทดลอง5.4 สร้างจินตนาการ ว่าทุกสิ่งมีชีวิตจิตใจ และมนุษย์ทำได้ แล่นบทบาทสมมติว่าตนเองเป็นนกกำลังเดินทางไปในยานอวกาศ5.5 แลกเปลี่ยนทัศนะ 6. สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เข้ากับเนื้อหาการเรียนรู้อื่น ๆ 7. การสรุปความ โดยยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ๆ ฝึกให้เด็กเก็บบันทึกข้อมูล
การสอนวิทยาศาสตร์ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องเตรียมอะไรบ้าง 1. ประเมินพื้นฐานของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะรู้พื้นฐานของเด็ก (รู้ว่าเด็กรู้แค่ไหน) สังเกตจากการสอบถาม เช่น สมมติว่าเราจะสอบเรื่องน้ำ เด็กยังไม่รู้ว่าน้ำระเหยได้ (ระเหยแปลว่าอะไร) ถ้าเด็กยังไม่รู้ระเหยคืออะไร เราควรให้เขารู้ก่อน 2. เลือกกำหนดวัตถุประสงค์ ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องต้องมีวัตถุประสงค์ว่าจะสอนให้เด็กเรียนอะไร วัตถุประสงค์ไม่จำเป็นต้องมีหลายอย่าง มีเพียงข้อเดียวก็พอ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะให้เด็กเรียนอย่างเดียว ถึงแม้จะตั้งวัตถุประสงค์ไว้อย่างเดียว แต่เด็กก็อาจเรียนรู้ได้หลายอย่างระหว่างดำเนินกิจกรรมนั้นอยู่ อาจเกิดจากการสังเกตของเด็กเอง หรือจากกการปฏิบัติ เช่น น้ำ สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นอย่างนั้นได้ เวลาต้มน้ำ น้ำจะระเหยได้ เวลาเอาน้ำแช่ตู้เย็นในช่องแช่แข็ง น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง
3. วางแผนจัดประสบการณ์ วางแผนว่าเด็กควรทำอะไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น เรียนรู้ว่าอากาศมีน้ำหนัก ต้องการให้เด็กรู้ว่ารากสามารถดูดน้ำจากดินได้ เหล่านี้เป็นวัตถุประสงค์เราจะจัดกิจกรรมอะไรให้สอดคล้องเข้ากันได้ 4. เลือกวัสดุอุปกรณ์ ต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ให้พร้อม เพื่อให้การสอนเป็นไปตามแผนที่วางไว้ 5. การสอน สอนตามแผนที่วางไว้และพร้อมที่จะปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความสนใจของเด็ก 6. การประเมิน ประเมินว่าเด็กได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่
ตัวอย่างกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ อากาศ การทำฟองสบู่ ความคิดรวบยอด อากาศต้องการที่อยู่ ลูกโป่งฟองสบู่มีอากาศ อยู่ข้างในวัตถุประสงค์ เด็กทำลูกโป่งฟองสบู่จากอุปกรณ์ที่กำหนดให้ได้ อุปกรณ์ สบู่เหลว หรือน้ำยาซักผ้า 8 ช้อนโต๊ะ น้ำ 1 ขวด หลอดดูด ถ้วย และสีผสมอาหาร การใช้คำถามของผู้เลี้ยงดูเด็ก - เด็กเป่าลูกโป่งฟองสบู่ได้กี่ลูก - ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร - เล่าเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ที่เด็ก ๆ เป่าให้ฟังหน่อย - เกิดอะไรขึ้นกับลูกโป่งฟองสบู่ - ลูกโป่งฟองสบู่แตกอย่างไร- เด็ก ๆ ทำให้ลูกโป่งอยู่นานๆ ได้อย่างไร - เด็ก ๆ คิดว่าอะไรอยู่ในลูกโป่งฟองสบู่ - เด็ก ๆ บอกได้ไหม เด็ก ๆ เป่าอะไรลงไปในฟองสบู่ - เด็กคิดถึงสิ่งอื่นที่เป่าอากาศเข้าไปแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้น ประสบการณ์เสริม1. ให้เด็กเล่าเรื่องเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ที่เป่าแล้วเขียนลง บนกระดาษขนาดใหญ่ 2. ส่งเสริมให้เด็กทำหนังสือเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ โดยใช้ การวาดภาพ 3. ส่งเสริมให้เด็กเขียนเกี่ยวกับภาพวาดของตน 4. จัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ แล้วให้เด็กเขียน คำอธิบายเพิ่มเติมความคิดรวบยอด 5. ทำลูกโป่งให้มีรูปร่างต่าง ๆ กัน
ควรสอนวิทยาศาสตร์อย่างไร1. เวลาสอน ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้แนะนำ เป็นผู้อำนวยความสะอวก แต่ไม่ใช่ผู้บอก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเป็นผู้คอยกระตุ้นให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 2. ไม่ควรเคร่งเครียดกับการเรียนมากเกินไป เช่น ไม่ควรให้เด็กรู้สึกว่าเรียนแล้วห้ามหัวเราะ ห้ามขยับ เดี๋ยวจะไม่ถึงเป้าหมายในการเรียน แต่ควรจะยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็น 3. ทำให้การเรียนเป็นเรื่องสนุก 4. ให้ยืดหยุ่นได้ อย่ายัดเยียดความรู้สึกกับเด็ก ควรให้ทีละอย่าง 5. จัดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ใช้ประสาทสัมผัส เช่น ให้ชิมน้ำมะนาว เด็กจะได้รู้ว่ารสเปรี้ยวเป็นอย่างไร6. อย่ารีบบอกคำตอบแก่เด็กทันที 7. กิจกรรมบางอย่างสามารถจัดซ้ำ ๆ ได้ ยังเป็นที่สนใจของเด็ก 8. ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กเกิดคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ เช่น เป็นคนมีเหตุผล รู้จักคิด สังเกต รวมทั้งให้เด็กรู้จักนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในโอกาสต่าง ๆ สิ่งสำคัญในการสอนวิทยาศาสตร์ ให้ลองจับ ให้ถาม ให้ตรวจตรา สัมผัส ผู้เลี้ยงดูเด็กรู้จักเอาคำถามของเด็กมาใช้ถามเด็กอีกที ให้เด็กคิดและสังเกตมากขึ้น ให้เด็กมีโอกาสทดลองความคิดของเขา เช่น มีสิ่งของต่างชนิดกับ อะไรจะตกถึงพื้นก่อนกัน (รู้จักทายอย่างมีเหตุผล) ลักษณะกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม1. สอนเรื่องการสังเกตโดยการเปรียบเทียบ- ให้เด็กรู้จักเปรียบเทียบ 2. สอนเรื่องรูปทรง - ให้เด็กสังเกตสิงรอบข้าง เช่น ลงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ตัวอย่างเช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กทำกล่องขึ้นมา 1 กล่อง แล้วเจาะช่องให้เด็กล้วงลงไปจับสิ่งของที่อยู่ภายในแล้วให้เด็กยอกความรู้สึกของสิ่งของที่สัมผัสว่ามีรูปทรงเป็นอย่างไร มีผิวเรียบหรือหยาบ 3. สอนเรื่องพื้นที่ - ในศูนย์หรือมุมอื่น เด็กก็สามารถเรียนวิทยาศาสตร์ได้ วิทยาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในศูนย์ที่เราจัดไว้ โดยเฉพาะเท่านั้น เช่น เมื่อเด็กเล่นในมุมบล็อก เด็กจะได้ทักษะว่าทำอย่างไรจึงจะสมดุลได้ เราจะต้องเสริมอย่างไรให้บล็อกไม้ล้มเราอาจจัดกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เรื่องอากาศโดยใช้ลูกโป่ง เช่น นำลูกโป่งมาเป่าลมแล้วให้เด็กสังเกตขนาดของลูกโป่งที่ขยายขึ้นและเมื่อปล่อยอากาศออก ลูกโป่งจะแฟบเหมือนเดิม (เป็นการสอนความคิดรวบยอดว่าอากาศต้องการที่อยู่)ฅ4. สอนเรื่องเกี่ยวกับจำนวนทั้งหมด อัตราส่วน - เช่น สมมติว่าผู้เลี้ยงดูเด็กมีแอปเปิ้ล 2 ผล แบ่งให้เด็ก 4 คน ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องแบ่งอย่างไร เด็กจะเรียนรู้ว่านี่คือครึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด (เด็กจะได้ความคิดรวบยอดว่าครึ่งหมายถึงอะไร)5. สอนเรื่องเรียงตามลำดับ - โดยการสมมติเหตุการณ์ว่าฝนตกจะมีอะไรเกิดขึ้นก่อนหลังบ้าง 1. มีก้อนเมฆสีดำ 2. ฝนตก เป็นการสอนให้เด็กรู้จักลำดับเหตุการณ์ หรือการนำลูกปัดสีต่าง ๆ มาร้อยเป็นสร้อยคอ เช่น ขาว-เขียว ขาว-เขียว เรียกว่า เป็นแบบเด็กจะสามารถเรียนรู้ว่าการจัดแบบเป็นอย่างไร 6. สอนเรื่องการวัดน้ำหนัก ส่วนสูง - อาจใช้ไม้บรรทัดหรือสายวัดก็ได้ เป็นการฝึกให้เด็กวัด โดยแจกไม้บรรทัดหรือสายวัดแล้วให้เด็กไปวัดแล้วจดกลับมา ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถบอกให้เด็กกะเอา เช่น วัดว่าโต๊ะนี้ยาว 4 ไม้บรรทัด เป็นต้น 7. สอนให้ดูภาพแผนภูมิสถิติ- กราฟไม่ใช้เรื่องที่จะเรียนได้เฉพาะเด็กโตเท่านั้น เด็กเล็ก ๆ ก็สามารถรู้จักแผนภูมิสถิติได้โดยการสอนเปรียบเทียบ เช่น เป็นแผนภูมิรูปภาพ ให้เห็นว่าอันไหนมากน้อยกว่ากัน 8. สอนเรื่องเครื่องหมาย ตัวเลข - ให้เด็กสามารถอ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์เป็น ผู้เลี้ยงดูเด็กมีวิธีประเมินการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างไร 1. การสังเกตของผู้เลี้ยงดูเด็ก 2. ซักถามเด็ก อย่าให้เหมือนการสอบสวน เด็กจะรู้สึกเครียด ซึ่งเป็นการวัดผลที่ไม่ดี ควรเป็นไปในลักษณะการพูดคุยกับเด็กมากกว่า 3. จากการวัดผลของตัวเด็กเอง เด็กอาจสรุปบอกเล่าจากความเข้าใจของเขาเอง การสอนไม่ว่าจะสอนวิชาอะไร กิจกรรมอย่างเดียวกันสามารถสอนได้หลาย ๆ อย่าง เช่น สอนได้ทั้งด้านภาษา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรสอนแยกรายวิชาและถึงแม้ว่ากิจกรรมบางอย่างเห็นชัดเจนว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองกับลูกโป่ง เมื่อเป่าลูกโป่ง แล้วปล่อยลมลูกโป่งจะเคลื่อนที่ เด็กอาจจะได้ในเรื่องรูปทรง จำนวนนับ สี ภาษา ทิศทาง เป็นต้น แต่ขณะเดียวกัน เด็กก็ได้พัฒนาการทางด้านอารมณ์สนุกสนานตื่นเต้นไปพร้อมกันด้วย ตัวอย่างกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์หลัก ๆ
กิจกรรมประกอบอาหารกิจกรรมประกอบอาหาร เป็นกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้กระบวนการ
ทำงาน โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผน ลงมือปฏิบัติไปจนถึงการทำ ความสะอาด จัดเก็บอุปกรณ์ และสถานที่ ซึ่งกิจกรรมประกอบ อาหารจะทำให้เด็กได้รับความรู้ เกิดความรู้สึกประสบผล สำเร็จกับกิจกรรมประกอบอาหารที่ทำ รวมทั้งปลูกฝังนิสัยใน การรับประทานอาหารให้กับเด็ก
วัตถุประสงค์ 1. เปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้ประสาทสัมผัส การรู้รส กลิ่น ของอาหาร 2. เพื่อให้เด็กพัฒนาการทางภาษา โดยการอภิปรายเกี่ยวกับการวางแผนร่วมกัน 3. เพื่อให้เด็กพัฒนาด้านสังคม โดยให้เรียนรู้กิจกรรม ร่วมทำงานเป็นกลุ่ม 4. เพื่อให้เด็กเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กเรียนรู้ว่าอาหารแต่ละชนิดหรือส่วยประกอบแต่ละชนิดได้มาจากอะไร รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ในขณะที่ทำกิจกรรมประกอบอาหาร 5. เพื่อส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์โดยการชั่ง ตวง วัดเครื่องปรุง เรียนรู้เรื่องปริมาณของอาหาร6. เพื่อส่งเสริมสุขภาพความปลอดภัย 7. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานจากการเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง 8. สร้างทัศนคติที่ดีในการประกอบอาหาร รู้ขั้นตอนของการเตรียมอาหาร รู้มารยาทในการรับประทานอาหาร 9. เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ
ขั้นตอนในการสอนกิจกรรมประกอบอาหาร มีขั้นตอนในการสอน 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมงาน ผู้เลี้ยงดูเด็กควรลำดับขั้นตอนการ ประกอบอาหารแล้วทำแผนภูมิรายการอาหารหรือส่วน ประกอบอาหารมีการปรึกษาหารือกัน ระหว่างผู้เลี้ยงดูเด็ก กับเด็ก เกี่ยวกับเครื่องปรุง ส่วนประกอบ รวมทั้งขอความ ร่วมมือจากผู้ปกครองขั้นที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ขั้นก่อนลงมือทำ และ ขั้นขณะประกอบอาหาร โดยในขั้นก่อนลงมือทำ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรติดภาพขั้นตอน ของการประกอบอาหาร มีการวางแผนแบ่งงานกันทำ ต่อ จากนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กวางอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดให้เห็นและ แนะนำขั้นตอนการทำและอุปกรณ์ ในส่วนของขั้นประกอบ อาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสาธิตวิธีการให้เด็กดูและสังเกต
ความเปลี่ยนแปลงของอาหาร รวมทั้งปลูกฝังนิสัยการรอคอย และมารยาท ผู้เลี้ยงดูเด็กควรแบ่ง หน้าที่ให้เด็กทุกคนได้ลง มือปฏิบัติด้วยตัวของเด็กเอง ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ผู้เลี้ยงดูเด็กให้เด็กเล่าประสบการณ์ ที่ได้รับ จากการจัดกิจกรรม เล่าขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมด้านการ สนทนากับเด็ก รวมทั้งให้แสดงความคิดเห็นจากการร่วม กิจกรรม บทบาทของผู้เลี้ยงดูเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรร่วมกับ เด็กช่วยกันวางแผน หาข้อมูลว่ามีเด็กคนไหนแพ้อาหารใด และข้อมูลของครอบครัว เช่น ครอบครัวอิสลามไม่รับประทาน หมู ในการจัดรายการอาหารก็ไม่ควรจะเป็นอาหารที่มีรสชาติ จัดเกินไป เช่น เผ็ด เค็ม หวานเกินไป และควรจะมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกันกับเด็ก
ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็กควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความสะอาด ความปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย 2. เวลาที่ใช้ในการประกอบอาหารต้องไม่นานจนเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเบื่อได้ 3. หาสูตรอาหารง่าย ๆ มีขั้นตอนในการประกอบอาหารง่าย ๆ 4. ขณะที่ทำกิจกรรม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำ 5. ฝึกสุขนิสัยให้กับเด็ก 6. ให้เด็กทุก ๆ คน ลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเองพร้อม ๆ กัน 7. ควรใช้ข้าวของในท้องถิ่นในการประกอบอาหารหรือควรจะเป็นอาหารประจำท้องถิ่น
การประเมินผล ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสังเกตการ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก ว่าเด็กลงมือกระทำตน เองหรือไม่ มีการร่วมมือกับเด็กอื่นหรือไม่
กิจกรรมเกม กิจกรรมเกมเป็นกิจกรรมที่เป็นการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีกฎกติการและวิธีการเล่นเฉพาะของเกมแต่ละชนิด ซึ่งรวมเอาการละเล่นไทยไว้ในกิจกรรมเกมด้วย ในการจัดกิจกรรมเกม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสร้างข้อตกลงในเรื่องกติกาให้เด็กได้เข้าใจเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน กิจกรรมเกมสามารถจัดให้เด็กเล่นคนเดียว เล่นเป็นคู่ หรือเล่นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลินเพลิด 2. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการท่งภาษา โดยเช้าใจคำสั่ง วิธีการเล่น 3. เพื่อให้เด็กรู้จักกฎ กติกา มารยาทของการเล่นแกม 4. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ได้เรียนรู้การเล่นร่วมกัน การจัดกิจกรรมเกม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรคำนึงถึงเรื่องของการเล่นที่เหมาะสมกับวัย เกมที่นำมาเล่นไม่ควรมีกฎกติกา ที่ซับซ้อน ในขั้นแรกผู้เลี้ยงดูเด็กควรอธิบายกติกาการเล่นให้เด็กเข้าใจก่อน และสร้างข้อตกลงกับเด็กในการเล่นและในขณะที่ดำเนินกิจกรรม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรดูแลการเล่นอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายหรือการแย่งกันเล่นของเด็ก นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะนำการละเล่นไทยในท้องถิ่นของตนมาให้เด็กเล่น เช่น การเล่นมอญซ่อนผ้า กระต่ายขาเดียว วิ่งเปี้ยว เก้าอี้ดนตรี เป็นต้น โดยคำนึงถึงความสนุกสนานทักษะต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับ ข้อเสนอแนะ การจัดกิจกรรมเกม ผู้เลี้ยงดูเด็กควรคำนึงถึงเรื่องต่างๆ คือ 1. กิจกรรมเกมที่นำมาจัด ควรจะเหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก 2. กิจกรรมเกมควรมีกฎ กติกา วิธีการเล่นที่ง่านต่อเด็กที่จะเข้าใจ3. จัดกิจกรรมเกมที่สร้างความสนุกสนานกับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้ร่วมเล่นภายใต้บรรยากาศที่ไม่ตึงเครียด 4. ไม่ควรจัดกิจกรรมเกมให้เป็นการแข่งขันเพราะจะเป็นการสร้างความเครียดให้กับเด็ก 5. จัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านหรือการละเล่นไทยให้เด็กสม่ำเสมอ
การประเมินผลผู้เลี้ยงดูเด็กควรสังเกตเด็กว่ามีความสนใจในการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมหรือไม่ มีการแสดงออกเข้าใจกฎกติกา วิธีการเล่น หรือไม่
กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด๋กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยายด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ 1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ 2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า “หน่อง” หนักกว่า “ปุ้ย” แต่บางคนบอกว่า “ปุ้ย” หนักกว่า “หน่อง” เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่ง น้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก 3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น 5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง 6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น 2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน 4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ 6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ 8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์ 12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
หลักการสอนคณิตศาสตร์1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน 2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ “พบคำตอบด้วยตนเอง” 3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี 4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก 5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียนพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม 6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิทของเด็กเพื่อสินประสบการณ์ใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ 7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์ 8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ 9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข 10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไข ปรับปรุง 12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงควบคิดรวบยอดเดียว 13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก 14. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล 2. มะม่วง 2-3 ผล3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม ขั้นจัดกิจกรรม 1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ 2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร 3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล 4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้ 5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้ การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ ตัวอย่างกิจกรรม จับคู้ลูกหมู จุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน อุปกรณ์ 1. แผ่นผ้ายสำลี 2. ภาพลูกหมู 3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ) ขั้นจัดกิจกรรม 1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง 2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากกการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสี จุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน ขั้นจัดกิจกรรม 1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว 2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม 3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด 4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน การประเมินผล สังเกต 1. จากการร่วมกิจกรรม 2. จากการสนทนาตอบคำถาม 3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม ตัวอย่างกิจกรรม การอนุรักษ์ปริมาณจุดประสงค์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณอุปกรณ์ 1. ถ้วยตวงชนิดใส 3-4 ใบ 2. แก้วที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ ขั้นจัดกิจกรรม 1. เทน้ำใส่ถ้วยตวงทั้งหมดที่มี ให้มีปริมารน้ำเท่ากันทุกใบ อาจหยดสีผสมอาหารใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เด็กมองเห็นระดับน้ำได้ชัดเจน 2. แจกถ้วยตวงพร้อมกับแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ แก่เด็กเป็นคู่ ๆ 3. ให้เด็กเทน้ำจากถ้วยตวงใส่ลงแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ 4. ให้เด็กเปรียบเทียบปริมาณน้ำจากแก้วกับถ้วยตวง 5. สนทนาโดยใช้คำถาม “ปริมาณน้ำที่เด็ก ๆ เห็นต่างกันหรือไม่” 6. สรุปเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์วิธีที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็กคือการสนทนา พูด คุยขณะทำกิจกรรม อีกวิธีหนึ่งคือการสังเกตผลจากการ ประเมิน จะช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็กประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก แต่ละคนว่ามีพัฒนาการมากน้อยเพียงใด
ข้อควรคำนึงในการประเมินผล1. สอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 2. เครื่องมือที่ใช้จะต้องมีความเหมาะสมกับ เรื่องการวัดและ เหมาะสมกับวัยของเด็ก 3. ผลหรือข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะต้องตีความได้ง่าย ไม่ ลำเอียง4. ผลหรือข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือประเมินผลชนิดต่างๆ ควร รวบรวมจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่ง เช่น ข้อมูลที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก เก็บจากเด็ก จากพ่อแม่และจากผู้มีส่วนร่วมในโรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

ไม่มีความคิดเห็น: